ฝึกก้าวออกจาก comfort zone ด้วยการกิน

ไม่กล้าออกจาก comfort zone ทำอย่างไรดี

เราเจอคำถามนี้จากนิสิต เมื่อเราพูดถึงเรื่อง comfort zone สิ่งคุ้นเคยและสภาพแวดล้อมที่เคยชิน ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ 

ความคิดแบบนี้เป็นอคติแบบหนึ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกอคตินี้ว่า ‘Status quo bias’ หรือ ‘สิ่งที่เราเป็นอยู่ ดีที่สุดเสมอ’ หรือ ‘อยู่แบบเดิม ทำแบบเดิม ก็ดีอยู่แล้ว’

การคิดนอกกรอบหรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความจำเป็นอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน เพราะหากเราหยุด เราจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังทันที 

การได้ลองอะไรใหม่ ๆ ไม่ต้องเป็นเรื่องใหญ่ แม้เพียงแค่เรื่องเล็ก ๆ เราก็ถือว่าเรากำลังจะก้าวออกจาก comfort zone  แล้ว และเรื่องเล็ก ๆ ที่เราสามารถเริ่มได้ ก็เรื่อง “กิน” นี่แหละ ^ ^

เพราะเราคงไม่กลัวที่จะ “กิน” 555

การก้าวออกจาก comfort zone

สำหรับคนไทยเรา เรื่องกินเรื่องใหญ่ เรามีอาหารหลากหลาย ปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับลิ้นของคนไทย ลิ้นของคนไทยจึงถูกฝึกให้รับรู้รสชาติที่หลากหลาย จึงสามารถรับรู้และแยกแยะรสชาติได้ดี และยิ่งได้ลิ้มลองแต่ของอร่อย ของไม่อร่อยไม่มีทางได้เกิด เพราะมีการบอกต่อในหมู่เพื่อนฝูงว่า ไม่ผ่าน อย่างลอง 

ถึงแม้ว่าจะจัดจานสวย ถ่ายรูปแล้วลงในโซเชี่ยว คอมเม้นที่มักได้รับคือ ‘อร่อยมั้ย’ ‘ผ่านมั้ย’ สุดท้ายก็อยู่ที่รสชาติและคุณภาพอยู่ดี ถ่ายรูปสวย ไม่อร่อย มันไม่อิ่ม ไม่คุ้มค่ากับเงินและเวลาที่จะเสียไป

จะเห็นได้ว่า การลองกินและได้เรียนรู้อาหารแบบใหม่ ของอร่อย ๆ ในร้านที่เราไม่เคยลอง ก็ถือว่าเป็นการก้าวเล็ก ๆ ของจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ทำให้เราออกจากความคุ้นเคยแบบเดิม ๆ

เป็นจุดเริ่มต้นของความกล้า…กล้าที่จะคิดอะไรใหม่…การกล้าที่จะลอง…และกล้าที่จะทำสิ่งที่ไม่เคยทำ

การลองสิ่งใหม่ ช่วยให้เราเรียนรู้ และที่สำคัญ ช่วยขยายพื้นที่ปลอดภัยของเราให้กว้างขึ้น

ที่สำคัญเราก็ไม่ได้ลองแบบลองไปที เรามีโลกโซเชี่ยวก็ช่วยเราการันตรีความอร่อยจาก เพื่อน ๆ จากกลุ่ม Influencer หรือแม้แต่คนที่เราไม่รู้จัก ว่าร้านไหนเด็ด ลองแล้วไม่ผิดหวัง

จากที่เฝ้าสังเกต การเพิ่มขึ้นของการใช้สื่อออนไลน์ของคนไทย ได้ยกระดับรสชาติของอาหารในหลาย ๆ ร้าน ได้เพิ่มยอดขายแบบถล่มทลายให้กลับร้านเด็ดร้านดัง แต่หากไม่อร่อยจริง ก็จะต้องเลิกกิจการไปแบบรวดเร็วเช่นกัน

กระแสมาเร็วก็จริง แต่ก็ไปเร็วเช่นกัน 

หากไม่อร่อยจริง และคุณภาพไม่ได้ เท่ากับเป็นการทำลายความเชื่อใจของลูกค้า

การสร้างความไว้วางใจคือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการกิน

ผลสำคัญอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี คือ เกิดนักผลิตคอนเทนท์ มือสมัครเล่นจำนวนมาก และจำนวนไม่น้อยพัฒนามาเป็นนักผลิตคอนเทนท์มืออาชีพ ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ในวิถีแบบเดิม ๆ ต้องนั่งปวดหัวและบางรายถึงกลับพับเสื่อกลับบ้าน

นักผลิตคอนเทนท์ที่เต็มไปด้วย Passion แม้ไม่ได้จบสื่อสารมวลชนหรือจบนิเทศก์ก็สามารถผลิตรายการผ่าน Facebook, facebook live, และ YouTube โชว์ไอเดียได้เต็มที่ ไม่ต้องง้อใคร เพียงแค่มีไอเดีย 

หลายคนกลายเป็น Macro influencer ในชั่วพริบตา (Macro Influencer คือผู้ทรงอิทธิพลที่มีผู้ติดตามมากกว่า …. ขึ้นไป)

คอนเทนท์ส่วนมากที่นำเสนอออกมามักจะเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น เรื่องกิน เรื่องเที่ยว สบาย ๆ ในมุมที่เราไม่เคยมอง ไม่ได้ปรุงแต่งมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เราอยากลอง 

ดังนั้น…อย่ากลัวที่จะลอง 

เพราะเราไม่ใช่คนแรก!!! 

นักผลิตคอนเทนต์ทั้งหมายคือ ตัวอย่างของการก้าวออกจาก comfort zone ให้เราได้ก้าวตาม ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้พื้นที่ส่วน Growth zone ขยายออกไป สนุกและสร้างสีสันให้กับเรา

จะช้าอยู่ไย เริ่มเลยสิคะ…สุดสัปดาห์นี้ ออกไปหาของอร่อย ๆ กินกัน ^ ^

#ด้วยรักและห่วงใยจากทีมEatEcon

ปล. หากเพื่อน ๆ เห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้มีประโยชน์ อย่าลืมแชร์ให้คนรอบข้างของคุณอ่านด้วยนะคะ ^ ^

#เรื่องดีดีมีให้อ่านทุกวัน

หากเพื่อนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com

Photo by Paul Hanaoka on Unsplash