ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

สิ่งที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว กับดักสำคัญที่ฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลง

สวัสดีปีใหม่ค่ะเพื่อนๆ และคุณผู้อ่านทุกท่าน ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองกันมาแล้ว แต่ละคนเป็นอย่างไรกันบ้าง ได้มีโอกาสเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ หรือเปิดโอกาสตัวเองให้สิ่งดีๆ ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าชีวิตเดิมๆ เมื่อปีที่ผ่านมากันบ้างรึยัง  ก่อนสิ้นปี EatEcon ได้นำเสนอเรื่องราวของการพาชีวิตหลุดพ้นจากกับดัก “ต้นทุนจม” เพื่อเป็นแนวคิดในการเตรียมวางแผนรับปีใหม่ที่จะมาถึง…เช่นเดิมค่ะ เพื่อความต่อเนื่องและเปิดปฐมฤกษ์ของปีใหม่ทั้งที EatEcon ก็ไม่พลาดที่จะมานำเสนอบทความดีๆ เสิร์ฟให้ผู้อ่าน หลายคนคงเคยได้ยินหรือได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Status Quo Bias กันมาบ้าง หรือใครที่ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร บทความแรกของปี 2562 นี้ EatEcon จะขันอาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนิยามคำนี้

ต้นทุนจม… กับดักและเหตุผลวิบัติที่เราต้องเท่าทัน

เราจ่ายไปเยอะแล้ว… เราลงทุนไปเยอะแล้ว… เราเดินมาไกลมากแล้ว… เราทำมาตั้งนาน กว่าจะมาถึงวันนี้ แล้วเราก็มาจบที่ …รู้งี้… คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราเสมอ เมื่อเราให้ค่ากับ “ต้นทุนจม” มากเกินไป คุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ “ต้นทุนจม” อย่างแท้จริง ต้นทุนตัวนี้สำคัญมากนะ ไม่เฉพาะสำหรับนักลงทุน หรือนักธุรกิจ แต่มันมีอยู่จริงในชีวิตเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะทุกข์ร้อนกับมันมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการให้ค่าความสำคัญ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เจ็บหนัก