อาหารคลีนกับข้อมูลคลีน ๆ

ตื่นมาตอนเช้าวันอาทิตย์ 27 มิถุนายน 2564 กับข่าวสั่งห้ามนั่งทานในร้านอาหาร  อนิจจาได้เวลาเข้าครัว…ทำอาหารคลีนๆกินเองอีกแล้วสิเรา หลายคนคงเบื่อกับโควิดสารพัดปัญหาที่ไม่รู้ว่าจุดสูงสุดของผู้ติดเชื้อนั้นจะอยู่ที่ยอดใด และเราจะไม่รู้จนกว่าจุดสูงสุดนั้นได้ผ่านเราไปแล้ว แต่สิ่งที่เราทำได้คือ การดูแลตัวเอง  เราได้เคยเล่าไปแล้วว่าการทำอาหารทานเองนั้นคลีนกว่าการไปซื้ออาหารตามร้านต่าง ๆ เพราะคนปรุงจะต้องปรุงให้ถึงใจ ถึงรส มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถทำให้เราติดใจกลับไปกินได้ในครั้งต่อ ๆ ไป  การที่เราลงทุนทำอาหารเอง ประมาณว่าทำเอง ทานเอง

กินเนื้อวัวมั้ย

กินเนื้อวัวมั้ย…หนึ่งในคำถามที่มักเจอ:และคำตอบที่มักได้สำหรับคนที่ไม่กินเนื้อวัวที่สำรวจมา จัดกลุ่มได้ 5 สาเหตุ :1. แม่ไม่กิน (เนื่องจากส่วนใหญ่แม่เป็นคนทำกับข้าว คนทำไม่กินเนื้อวัว สมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะลูก ๆ จึงไม่กินเนื้อวัวตามแม่)2. ความเชื่อ เช่น นับถือเจ้าแม่กวนอิม หรือเกิดปีวัว (ปล. เจ้าตำรับที่นับถือเจ้าแม่กวนอิม นับถือแต่กินเนื้อวัว และนิยมสุด ๆ

ก้าวของฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่

ไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า เชื่อว่า หนึ่งในสามเมนูนี้ น่าจะเป็นรายการโปรดสำหรับใครหลายคน หรือไม่ ก็อาจจะโปรดทั้ง 3 เมนู

เพียงแค่นึกถึง…น้ำลายก็สอแล้ว

ยิ่งทำงานเหนื่อยล้ามากเท่าไร อย่าได้เห็นเดียวนะ เป็นกระโดนใส่

Plant-based meat : เนื้อสัตว์จากพืชที่ก้าวขึ้นมาเทียบเนื้อสัตว์ที่เราคุ้นเคย

งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการกิน ‘เนื้อสัตว์’ เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุโลกร้อน อันเนื่องมาจากกระบวนการเลี้ยงที่ใช้ทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงระบบขนส่งตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ก่อให้เกิดการพัฒนาเนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based meat)

ใครหนอเป็นคนบอกว่า ราคานี้ “ยุติธรรม”

ผลพวงจาก Covid-19 ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องหันมาขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง Market plance ต่าง ๆ  ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน facebook จากการตั้งกลุ่มที่อาศัยศิษย์ร่วมสถาบันมารวมตัวกันอย่าง ม.เกษตร ที่มี KU-จะฝากร้าน เกษตรแฟร์ออนไลน์ (ยังมีอีกหลายสถาบัน แต่เราขอไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะไม่ได้ไม่ได้ติดตาม)  ผู้ขายใช้แพลตฟอร์มอย่าง facebook เปิดตัว นำเสนอสินค้าต่าง

ออฟไลน์และออนไลน์ – สเน่ห์ที่แตกต่าง

ยอดขายออนไลน์ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้การส่งสินค้าของบางเจ้าล่าช้าตามที่เป็นข่าว แม้ว่าเราจะไม่ได้อยากอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ แต่นี่ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ Covid-19 ได้บีบให้เราต้องปรับตัว  คนขายของออฟไลน์  เมื่อหน้าร้านขายไม่ได้ก็ยกร้านมาไว้ในช่องออนไลน์ ต่อลมหายใจที่รวยรินให้หลายชีวิตได้ไม่น้อย ผู้ซื้ออย่างเราการจ่ายเงินซื้อจะมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นเสมอ แต่ก็มีความสุขที่ได้ซื้อด้วยเช่นเดียวกัน โดยเรามีทางเลือก เลือกว่าจะจ่ายเงินก่อน จ่ายเงินทันที หรือจ่ายเงินหลังด้วยเครดิต (ทั้งแบบบัตรเครดิต และแบบแปะโป้งไว้ก่อน) หากลองสังเกตดูความสุขที่ได้จากการจ่ายต่างช่วงเวลา ส่งผลต่อความสุขและความเครียดของเราแตกต่างกัน การซื้อออฟไลน์หรือซื้อที่หน้าร้านมักเน้นการจ่ายทันที และมีการจ่ายหลังด้วยเครดิตบ้างแต่ไม่มากนัก

อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ระวัง “หนี้”

EatEcon กลับมาอีกครั้ง หลังห่างหายกันไปนาน กลับมาคราวนี้ต้องขอบคุณ Covid-19 ที่ทำให้เราได้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” จากที่ต้องออกไปทำงานทุกวัน บางสัปดาห์ 7 วัน ไม่มีวันหยุด พอ Covid-19 เริ่มระบาดรุนแรงและเป็นวงกว้าง เราต้องเปลี่ยนบ้านให้เป็นที่ทำงานเหมือนเช่นหลายคน ขณะที่หลายคนต้องหยุดงาน ได้เงินเดือนบ้าง

อยากกินแพง แต่เสียดายเงิน จะทำยังไงดี

เมื่อเอ่ยถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ ทุกคนลงความเห็นเหมือนกันว่า ‘แย่’ ประชาชนคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่ารัฐจะกระตุ้นด้วยมาตรการ “ชิม ช็อป ใช้” แจกเงินให้ใช้กันฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท แถมมีกระเป๋าสองถ้าอยากจ่ายเงินแล้วได้เงินคืน  ในมุมของเรา นโยบายไม่น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดังหวัง เพราะข้อจำกัดเยอะสุด ๆ กว่าจะแย่งกันลงทะเบียนได้ ก็อดตาหลับขับตานอน

มื้อนี้เราเลี้ยงเอง ^ ^

ต่อเนื่องจากบทความก่อนที่เราชวนเพื่อนออกไปจับจ่ายใช้สอย เพื่อร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจ คราวนี้เราอยากเสนอให้ ชวนกันออกไปกินข้าว พบปะสังสรรค์ อัพเดทชีวิตของเพื่อนสนิทมิตรสหาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกัน ปัญหาโลกแตกแรกเวลานัดเพื่อนๆ คือ กินอะไรดี และเมื่อกลุ่มสรุปได้แล้วว่าจะไปกินอะไร ร้านไหน  เมื่อไปถึงร้านก็จะเจอปัญหาโลกแตกอีกข้อคือ ควรจะสั่งอะไรดี ราคาจะแพงไปหรือเปล่า แล้วเราควรทำอย่างไรดี? เวลาเรานัดเพื่อน ๆ ในกลุ่มไปกินข้าว โดยปกติก็จะหารกัน

ฝึกก้าวออกจาก comfort zone ด้วยการกิน

ไม่กล้าออกจาก comfort zone ทำอย่างไรดี เราเจอคำถามนี้จากนิสิต เมื่อเราพูดถึงเรื่อง comfort zone สิ่งคุ้นเคยและสภาพแวดล้อมที่เคยชิน ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ  ความคิดแบบนี้เป็นอคติแบบหนึ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกอคตินี้ว่า ‘Status quo bias’ หรือ ‘สิ่งที่เราเป็นอยู่ ดีที่สุดเสมอ’ หรือ