อยากกินแพง แต่เสียดายเงิน จะทำยังไงดี

เมื่อเอ่ยถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ ทุกคนลงความเห็นเหมือนกันว่า ‘แย่’ ประชาชนคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่ารัฐจะกระตุ้นด้วยมาตรการ “ชิม ช็อป ใช้” แจกเงินให้ใช้กันฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท แถมมีกระเป๋าสองถ้าอยากจ่ายเงินแล้วได้เงินคืน 

ในมุมของเรา นโยบายไม่น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดังหวัง เพราะข้อจำกัดเยอะสุด ๆ กว่าจะแย่งกันลงทะเบียนได้ ก็อดตาหลับขับตานอน เราคนหนึ่งละที่ยอมแพ้

อันที่จริงเราไม่ได้อยากใช้กระเป๋า 1 ที่ได้เงิน 1,000 บาทมาใช้ฟรี ๆ เราอยากใช้กระเป๋า 2 คือ จ่ายเงินเอง แล้วได้เงินคืน 15% ไรงี้ 

ที่มา: www.innnews.co.th

แต่อุปสรรคของเราคือ เราต้องไปแย่งชิงคนที่ลงทะเบียนเพื่อให้ได้สิทธิ์จากกระเป๋า 1 ก่อน คิดดูสิ อยากใช้มากกว่า 1,000 บาท แถมเติมเงินตัวเองด้วย แต่กลับต้องไปรบด่านแรกก่อน เราเลย…..ขอบายยยยยยย

อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่า เรารวย เราแค่ขี้เกียจ !!!

อันที่จริงเราก็ช่วยกิจกรรม ‘ชิม ช๊อป ใช้’ อยู่นะ แค่ไม่ได้ใช้เงินผ่านเป๋าตัง ไม่ได้ร่วมโครงการ เพราะอุปสรรคมันเยอะจัด (ขอเน้นอีกครั้ง เผื่อทางรัฐจะปรับให้มันง่ายขึ้น 555)

กิจกรรมที่เราใช้เยอะสุด คือ ‘ชิม’ เพราะเราชอบกิน ^ ^

ทีนี้ผลของการชอบชิมและชอบกินคือ บางครั้งก็แพง จึงไม่ค่อยจะมีความสุขสักทักไร 

หากอาหารมื้อนั้นราคาไม่แพง หรือถูกกว่าที่คาดไว้ รับรองความสุขเพิ่มทันตาเห็นตอนจ่ายเงิน ^ ^

ความย้อนแย้งเกิดขึ้นละทีนี้ อยากกินของอร่อย แต่ดันแพง เสียดายตัง จะทำอย่างไรดี

มีไอเดียหนึ่งน่าสนใจมาก จากหนังสือ “MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข” by จักรพงษ์ เมษพันธุ์ หรือ The Money Coach พึ่งวางแผงสด ๆ ร้อน ๆ

โค้ชหนุ่ม แนะนำช่องทางออมเงินจากการกินอาหารหรูหรือราคาแพง โดยการเก็บเงิน 10% ของราคาอาหารมื้อนั้นหย่อนลงกระปุก ถือเป็นการหักภาษีฟุ่มเฟือยส่วนตัว เบา ๆ 10%

ขอบอกว่าชอบมากกกก

เราว่าวิธีนี้เจ๋งดี แม้ว่าปกติเราก็ออมอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น ออมก่อนใช้ ออมจากเศษเหรียญ ออมจากแบงค์ 50 บาททุกครั้งที่ได้เงินทอน หากยืมไปใช้ ต้องคืนสองเท่า !!!

โดยเฉพาะกรณีออมเงินจากแบงค์ 50 บาท นี่สนุกสุด เพราะต้องลุ้นทุกครั้งที่ต้องจ่ายเงินสดว่าจะได้เงินทอนกับเป็นอะไร ถ้ามีเพิ่มร่วมอุดมการณ์ด้วยแล้ว จะยิ่งสนุก เพราะมีเพื่อนช่วยลุ้น 555

เราคิดว่าจะเพิ่มวิธีของโค้ช หนุ่ม จักรพงษ์ เป็นหนึ่งในการออมเงินของเรา

เพื่อน ๆ อาจจะเห็นว่าทำร้ายจิตใจ แต่เราว่าวิธีนี้ก็จะทำให้เราคิดมากขึ้น หากอยากจะกินของแพง 

ก็คิดซะว่า…บิลของอาหารมื้อนั้นเป็นค่าตอบแทนให้กับความตั้งใจทำงานของเรา  กินแพงหน่อยจะเป็นไร…จริงมั้ยคะ ^ ^

เราว่าแนวคิดการออมจากภาษีฟุ่มเฟือยนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง หากเราอยากใช้จ่ายไปกับสิ่งฟุ่มเฟือยทั้งหลาย เราต้องจ่ายภาษี เพราะปกติเราก็จ่ายภาษีสรรพสามิต 7% กันอยู่แล้ว

จะจ่ายภาษีเพื่อเงินออมของตัวเองเพิ่มสักหน่อยจะเป็นไรไป ^ ^

ขอบอกว่า…เราเคยใช้วิธีโหดกว่านี้อีกนะ…คือ ถ้าอยากได้ของแพง ๆ ก็ต้องเก็บเงินสองเท่าของราคา ส่วนหนึ่งไว้ซื้อสินค้า อีกส่วนออมลงกระปุก พอเจอวิธีภาษีฟุ่มเฟือยแค่ 10% นี้สบาย ๆ ไม่ตึงจนเกินไป กำลังดี ^ ^

ทำแบบนี้จะช่วยให้เรารู้สึกดีกับตัวเองด้วยนะ เพราะนอกจากจะได้กินของอร่อย หรือได้ของที่อยากได้แล้ว เรายังมีสติคิดอย่างรอบคอบก่อนซื้อ และที่สำคัญ เราสามารถออมเงินทุกครั้งที่เราจ่ายเงินให้กับสิ่งฟุ่มเฟือย

เพราะ…

ความรุ่งเรืองของประชาชาติ

ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งทางการเงิน

ของประชาชนทุกคน

The Richest Man in Badylon
George S. Clason

#EatEcon

หากเพื่อน ๆ เห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้มีประโยชน์ อย่าลืมแชร์ให้คนรอบข้างของคุณอ่านด้วยนะคะ ^ ^

#เรื่องดีดีมีให้อ่านทุกวัน

ปล. สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com

ที่มา 

จักรพงษ์ เมษพันธุ์. 2562. Money 101: เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั้น.