กินก่อนหรือหลัง เรื่องเล็กๆจากก๋วยเตี๋ยว ที่บ่งบอกตัวเรา

เวลาเราหิวมากๆ อาหารคำแรกที่เรากิน จะมีรสชาติดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ “ความหิวจึงเป็นซอสปรุงรสที่ดีที่สุดในโลก” คำถัดมาจะอร่อยน้อยลง และจะน้อยลงเรื่อยๆ พร้อมไปกับการที่ความหิวจะค่อยๆ คลายลง คำสุดท้ายที่เรากินจะมอบฟินที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคำแรก ขณะเดียวกันความอิ่มก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่เราอิ่มเปรียบเหมือนฟินจะสะสมเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่สูงที่สุด จากคำถามข้างต้น เราขอยกตัวอย่างลูกชิ้นเป็นของโปรดของคุณ คุณเป็นคนกลุ่มไหน ชอบกินลูกชิ้นก่อน หรือเก็บของโปรดไว้กินท้ายสุด หากคุณกินลูกชิ้นก่อนเป็นอันดับแรก คุณเป็นกลุ่มคนที่ชอบให้ความสุขกับตัวเอง โดยมีความหิวและรสชาติจะช่วยเติมเต็ม

น้ำตาลคือจำเลย

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้คนไทยเลิกกินน้ำตาล ซึ่งจะไม่ยุติธรรมกับ “น้ำตาล” และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำตาลเท่าไร เราเองก็มีส่วนได้รับประโยชน์จากน้ำตาล ครอบครัวของเรามีไร่อ้อย อยู่ในจังหวัดกาญจบุรี ขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล ช่วงฤดูฝนของทุกปีจะต้องมาลุ้นว่าปีนี้ฝนจะเยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ต้องสูบน้ำเข้าไร่อ้อย เสียค่าน้ำมันไม่ใช่น้อยต่อการสูบแต่ละครั้ง ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ได้น้ำหนัก ได้ค่าความหวาน และสุดท้ายก็จะต้องลุ้นว่าราคาอ้อยจะเป็นอย่างไร ราคาอ้อยปีนี้ประมาณตันละ 680 บาท ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งหลาย ครม.

ว่าด้วยเรื่องของไข่

เราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ถึงขั้นเรียกกว่าอยู่ในกลุ่มน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ก็กว่าได้ (BMI 17.8 ซึ่ง ช่วงของเกณฑ์ปกติ คือ 18.5–22.9) ปัญหาหนึ่งของเราคือคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดสูง ซึ่งคนที่ผอมทั้งหลายมักจะมีปัญหานี้ เคยคิดเล่นๆว่า เป็นเพราะเราไม่มีไขมันให้คลอเรสเตอรอลไปสะสม คุณเธอเลยมาอยู่ในเลือดแทนมั้ง ความตั้งใจของเราคือ กินไข่วันละฟอง โดยเราจะเลือกกินไข่ต้ม ยิ่งต้มได้ยางมะตูมยิ่งฟิน จริงๆไข่เจียว ไข่ดาวก็ชอบแต่เพราะอยู่คอนโด เมนูทอดและผัดถูกเราแบน

เมนูโปรดกับร้านประจำที่ชื่นชอบ

การจะหาอะไรกินสักอย่างของนักเศรษฐศาสตร์เกษตรอย่างเราบางทีก็ดูจะเป็นการเรื่องมาก ความคิดในหัวตีกันตลอดเวลาว่าจะกินอะไรดี เมนูที่จะผุดขึ้นมาก็มักจะเป็นเมนูโปรด หรือร้านประจำที่ชื่นชอบ นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องความชอบแล้ว ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่สั่งสมมาทีละน้อยทีละนิดจากการรับรู้ความอยากลำบากของการผลิตสินค้าเกษตร มีโอกาสสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเกิดในครอบครัวเกษตรกร ทำให้การตัดสินใจเลือกอุดหนุนร้านที่เรามั่นใจว่ารับซื้อผลผลิตมาจากเกษตรกรไทยมักจะเป็นเหตุผลหนึ่งเลือกร้านด้วยเช่นกัน เราเป็นคนหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นสมาชิกคนรักเนื้อ ร้าน Max Beef จึงเป็นหนึ่งในร้านโปรด และมักจะชวนเพื่อนๆไปกินด้วยกัน ความพยายามในการยกระดับการผลิตเนื้อวัวคุณภาพตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ เมื่อเห็นว่าอาชีพเลี้ยงโค กระบือที่หัวไร่ปลายนา จะต้องประสบปัญหาในอีกไม่ช้า อันเนื่องมาจากการค้าเสรี

อาหารสิ้นคิดเบอร์หนึ่ง

ภาพจาก http://orataiyanoo.blogspot.com/2017/04/blog-post_10.html เมื่อพูดถึงอาหารสิ้นคิด ผัดกะเพรา ไข่เจียว ข้าวเหนียวหมูปิ้ง หนึ่งในสามเมนูนี้ มักจะเป็นเมนูแรกๆที่หลายคนเอ่ยถึง คำถามคือทำไมเราถึงนึกเมนูนี้ได้เป็นเมนูแรกๆอาจเรียกได้ว่าหลุดออกมาจากปากโดยที่เรายังไม่ได้คิดด้วยซ้ำ การตัดสินใจนี้ผ่านการคิดแบบอัตโนมัติ ซึ่งรวดเร็ว ฉับไว และเป็นไปโดยสัญชาตญาณ ซึ่งไม่ต้องอาศัยการคิดมากมายอะไร นั่นหมายถึงว่าการเลือกเมนูที่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารสิ้นคิด เช่น ข้าวผัดกะเพราะไก่ไข่ดาว แทบจะไม่ต่างอะไรกับการเลือกเมนูโปรด โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งรีบที่ต้องแข่งกับเวลาอย่างมื้อกลางวัน หากจะแตกต่างอย่างมากกับการเลือกเมนูในมื้อเย็นที่มีเวลามากขึ้นในการคิดและตัดสินใจ และจะยิ่งต้องคิดมากขึ้นอาหารมื้อนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เราคนเดียว

กินเนื้อวัวไทยกันเถอะ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสายเนื้อในเมืองไทยได้ลิ้มลองเนื้อที่มีรสชาติไม่แพ้เนื้อที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทุกคนให้ความเห็นเหมือนกันว่าเนื้อวัวไทยพัฒนาไปมาก ไม่เหนียวเหมือนแต่ก่อน มีเนื้อไขมันแทรกสัญชาติไทยให้ได้ลิ้มลองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลอดระยะเวลาเกือบทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกร นักวิจัย และหน่วยงานภาครัฐ ได้จับมือกันร่วมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อเพื่อยกระดับคุณภาพเนื้อไทยให้สามารถแข่งขันกับเนื้อนำเข้า ซึ่งกำลังจะลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 ในปี 2563 ผลประโยชน์จึงตกอยู่ที่ผู้บริโภคที่สามารถบริโภคเนื้อนำเข้าในราคาที่ถูกลงในอนาคต สำหรับสายเนื้อแล้ว การได้ลิ้มรสเนื้อที่มีไขมันแทรก ถือเป็นสิ่งที่ถวิลหา หากแต่กระบวนการกว่าจะได้เนื้อที่มีคุณสมบัติแบบ A5 นั้นไม่ง่ายเลยแม้แต่ญี่ปุ่นที่เป็นต้นตำรับเนื้อประดับนี้ก็ตาม.

กว่าเกษตรไทยจะ 4.0

ความพยายามผลักดันไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐทำให้สังคมไทยตื่นตัว หน่วยงานรัฐทั้งหลายพยายามกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เข้าธง4.0 มีการพัฒนาแอพลิเคชันมากมายเพื่อมุ่งหวังให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) สามารถนำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ได้ในอนาคต หากแต่การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลของสังคมเกษตรนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เกษตรกรส่วนมากมีอายุมากกว่า 50 ปี การปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายมือถือจาก2G เป็น 3G น่าจะเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกษตรกรผู้สูงอายุเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์แบบเดิมมาเป็นสมาร์ทโฟน หากแต่จะมีสักกี่รายที่จะใช้ฟังก์ชันอื่นนอกเหนือจากการโทรและรับสาย จะมีสักกี่รายที่โหลดแอพลิเคชันของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ มาใช้ประโยชน์ เมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกงานนิสิตของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร

Personalised Nutrition: โภชนาการเฉพาะบุคคล

จากยอดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคในกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้เกิดการตื่นตัวกับการดูแลวิถีการกินของตัวเองมากขึ้น หน่วยงานสาธารณสุขพยายามออกแคมเปนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้คนทั่วไประมัดระวัง ลด ละ และเลิก ติดเค็มและหวาน อาทิเช่น แคมเปน “ลดเค็ม ลดโรค” เป็นหนึ่งในความพยายามของสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ต้องการลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่ม NCDs ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความล้มเหลวของตลาดกับสุขภาพ

การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถลดอัตราการเติบโตนี้ได้ในระยะเวลาอันใกล้ มีปัจจัยหลายๆอย่างที่สนับสนุนการอัตราการเพิ่มของประชากรกลุ่มนี้ วันนี้ผู้เขียนของแสดงความเห็นในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายการเติบโตของประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนด้วย ความล้มเหลวของตลาด(Market failure) คนหนึ่งคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าข่ายผู้มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เมื่อตลาดนั้นไม่สามารถตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ภายใต้เงื่อนไขตลาดแข่งขันสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ เงื่อนไขแรกคือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคในอุตสาหกรรมนั้นมีมาก จนทำไม่มีผู้ใดมีอำนาจในการกำหนดราคา นำมาซึ่งเงื่อนไขต่อมาคือ ทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อเป็นผู้รับราคาจากตลาดที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน (Price taker) ผู้ผลิตจะเข้าหรือออกจากตลาดเป็นไปอย่างเสรี

“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences