เหตุที่ภาครัฐดูแคลนภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

การดูแคลนภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้สะท้อนผ่านอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ในปี 2566 เพียงแค่ 1.8% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแถลงเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา สวนทางกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุไว้ตอนต้นปี 2566 ว่าประเทศไทยจะมีการขยายตัว 2.4% มากกว่าความเป็นจริงไป 0.6% การคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พลาดเป้า ทำให้หลายฝ่ายเห็นแย้งกับการดำเนินนโยบายของ

หมูเถื่อน…กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับตั้งแต่กรมปศุสัตว์ประกาศว่าประเทศไทยพบเชื้อไวรัสแอฟริกันอหิวาต์ในสุกรเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 สิริรวมเวลาเกือบ 2 ปี จนเกิดงานแถลงข่าว ผลการตรวจสอบขบวนการหมูเถื่อนของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เมื่อวันที่ 24 พฤจิกายน

หมูเถื่อน ขบวนการขจัดผู้เลี้ยงหมูตัวเล็กอย่างเลือดเย็น

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหตุการณ์สูญเสียนายสราวุฒิ ประจวง หัวหน้าด่านกักกันสัตว์เพชรบูรณ์ กรมปศุสัตว์ ถูกยิงเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบห้องเย็น ซึ่งเป็นสถานที่เก็บเนื้อและซากสัตว์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สร้างความสลดหดหู่ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและวัวเป็นอย่างมาก หวังว่าการสูญเสียครั้งนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมให้ภาครัฐเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการค้าเนื้อสัตว์เถื่อนที่กำลังถอนรากถอนโคนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูอย่างเลือดเย็น ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยขายหมูได้จริงในราคา 52 –

ฝากรัฐบาลชุดใหม่…โปรดช่วยต่อลมหายใจชาวหมูรายย่อย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดช่วงหน้าร้อนนี้ความหวังว่าราคาหมูหน้าฟาร์มจะดีขึ้นบ้างคงหมดหวัง สถานการณ์ตอนนี้ของชาวหมูเรียกได้ว่า “น้ำตาตก” เนื่องจากราคาขายหมูหน้าฟาร์มอ้างอิงเขตภาคตะวันตกอยู่ที่ 70 บาท/กก. ไม่ได้สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตที่คงตัวในระดับสูงกว่า 90 บาท/กิโลกรัม แต่ก็ยังดีที่แนวโน้มต้นทุนที่เริ่มลดลง (ภาพที่ 1) ผลของการปล่อยให้มีการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ