คนรอบข้างน้ันสำคัญ

Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash

ลดน้ำหนัก ไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายๆคน ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่มีสัดส่วนประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนสูงถึงร้อยละ30ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา(เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนคนไทยประมาณร้อยละ50 มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน) หากท่านผู้อ่านอยากทราบว่าตัวท่านเองนั้นอยู่ในระดับใด สามารถใช้การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้โดยคำนวณจากน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง (กก./ม2)

การเพิ่มขึ้นของประชากรไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุขทั้งหมายต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคที่เรียกว่าโรคกลุ่มNCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable Diseases เช่น เบาหวาน ไต หัวใจหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง เป็นต้น โรคทั้งหลายเหล่านี้มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของซึ่งไม่น่าแปลกใจและทราบกันดีอยู่แล้ว และหลายๆคนก็มีปัจจัยต้นทุนคือ กรรมพันธุ์ ที่ส่งทอดมาจากพ่อแม่ จึงทำให้เรานั้นมีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้มากขึ้น ที่สำคัญก็คือ แม้ว่าไม่มีคนในครอบครัวที่เคยมีประวัติภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เราก็สามารถพัฒนาพันธุกรรมของเราขึ้นมาแล้วส่งทอดไปยังลูกหลายของเราได้จากพฤติกรรมกินและการใช้ชีวิตของเราเอง

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เรานั้นพ่ายแพ้ต่อการควบคุมตนเองในเรื่องการกิน บทความนี้จะขอยกตัวอย่างมาสัก 3 ประเด็น

สถาพแวดล้อมด้านอาหาร (Food environment) เราอยู่ในประเทศที่สามารถหาซื้อของกินได้ตลอด24 ชั่วโมง ต้นทุนการทำกับข้าวทานเองสูงกว่าการซื้ออาหารสำเร็จรูป แถมรสชาติก็อร่อย ไม่ต้องเสียเวลาไปจ่ายตลาดและตัวเหม็นจากการเข้าครัว โดยเฉพาะงานออกร้านตามสถานที่ต่างๆ เรียกได้ว่ามีแต่เมนูเรียกน้ำลายทั้งสิ้น โดยเฉพาะของทอดและขนมหวานหลากหลายชนิดทั้งไทยและเทศ ทั้งนี้น้ำตาลถูกกล่าวว่าเป็นผู้ร้ายๆ ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด ซึ่งจริงๆ แล้วตัวการที่ร้ายกาจคือตัวเราเองต่างหาก น้ำตาลหรืออาหารก็คือการเสพติด (Addic) อย่างหนึ่งเหมือนกับยาเสพติด อาการหิว ก็คืออาการที่ร่างกายเตือนเราว่า ถึงเวลากินแล้ว น้ำตาลก็เช่นกัน ถ้าหากเรากินขนมทุกๆ มื้อหลังอาหารเป็นประจำ มื้อใดที่เราไม่กิน เราก็จะรู้สึกว่าเราขาดอะไรไป

ความเครียด ลองสังเกตดูกันว่าท่านเป็นกลุ่มไหนระหว่างเครียดแล้วกินเยอะกว่าปกติ หรือเครียดแล้วกินไม่ค่อยลง สำหรับผู้เขียนเอง อยู่ในกลุ่มหลัง แต่เชื่อว่าหลายๆคนคงอยู่ในกลุ่มแรกโดยถือคติว่า “กินแก้เครียด” สารพัดจะสรรหาทั้งคาวหวาน พร้อมเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ และที่สำคัญมีงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมพบว่า คนที่คิดคำนวณเลขยากๆ จะกินเยอะกว่าคนที่คิดคำนวณเลขง่ายๆ งานวิจัยชิ้นนี้คงช่วยอธิบายเราได้ว่า ทำไมคนเราเมื่ออยู่ในภาวะเครียด จะกินมากกว่าภาวะปกติ

อิทธิพบของคงรอบตัวและคนสำคัญ ในทางจิตวิทยาเชิงสังคม อิทธิพลของบุคคลที่มีความสำคัญกับชีวิตเรา จะมีผลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าคนในครอบครัวชอบทานและสรรหาของอร่อย เราก็จะติดนิสัยนั้นไปโดยปริยาย เรามักจะนัดกันไปหาอะไรอร่อยๆทานโดยเฉพาะบุฟเฟต์ เชื่อว่าเมื่อเข้าไปร้านบุฟเฟต์แล้วเกือบร้อยละร้อยจะมุ่งมั่นและตั้งใจคิดให้มากที่สุด คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป แถมบุฟเฟต์ในปัจจุบันก็มีเปิดทั่วไปหันไปทางไหนก็เจอ หลายเกรดหลายราคาให้เลือกตามกำลังกระเป๋า สมาชิกที่ไปก็มีส่วนเพิ่มบรรยากาศการกินมื้อนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีความสุขมากขึ้นก็กินมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของการกินมากเกินไป หลายคนก็ติดใจกับความสุขที่ได้จากการสังสรรค์แบบนี้ จนมิอาจปฏิเสธหากคนใกล้ชิดชักชวนที่จะไป

จะเห็นได้ว่ามีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการกินของเรา แม้ว่าการควบคุมตนเองจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่การสนับสนุนจากคนใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักนั้นสำเร็จได้ในที่สุด

หากท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ บทความเบาๆ อ่านง่าย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com

Leave a Reply