ฉลาก…รู้ว่าดี แต่ก็ไม่อ่าน

  • หลายคนคงขี้เกียจอ่านฉลาก แม้จะรู้ว่าฉลากช่วยบอกอะไรเราบ้าง แต่เราเลือกที่จะมองแต่ฉลากที่นักการตลาดต้องการให้เราอ่าน ซึ่งเราก็เป็น
  • เรื่องฟุ้งๆ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฉลากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบ้านเรา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกัน

——————————————————————————————————————–

เรามาเริ่มจากการตอบคำถามว่า ฉลากทำหน้าที่อะไร? ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างฉลากน้ำอัดลมละกัน ง่ายดี

  1. ชื่อสินค้า ตราหรือโลโก้ ถูกออกแบบให้เตะตา จำง่าย ตัวใหญ่ๆ อยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์
  2. สื่อโปรโมชั่นการตลาด นี่ตัวดีเลย พวกคำว่า Zero หรือ No sugar “ไม่มีน้ำตาล” ตัวโต ๆ แต่ชื่อสารทดแทนความหวานตัวเท่ามด แทบจะต้องเอาแว่นขยายส่อง 
  3. นำเสนอข้อมูลการผลิตต่างๆ สินค้าที่ได้มาตรฐาน จะมีข้อมูลเยอะมาก ไล่ตั้งแต่ บริษัทที่ผลิต เลขทะเบียน อ.ย. ปริมาตรสุทธิ บาร์โค้ท (กินพื้นที่เยอะใช้ได้ แต่ตอนใช้แค่แสกนนิดเดียว) 
  4. ข้อมูลโภชนาการ หรือ Nurtition Fact อันนี้แหละสิ่งที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้บริโภค พื้นที่สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่อัดแน่สารพัดข้อมูล ตัวหนังสือเล็กมากกกก ไม่คมชัด แถมยากแก่การเข้าใจ ราวกับจงใจให้เราไม่อ่าน
  5. ข้อความที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคซึ่งเกิดจากกฎหมายบังคับ เช่น “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด”
  6. ถ้าเป็นสินค้าในกลุ่มขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม อ.ย. ได้บังคับให้มีการใช้ฉลาก GDA ในสินค้ากลุ่มนี้ ย่อยข้อมูลโภชนาการสำคัญให้ดูงานขึ้น
ฉลาก GDA

เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจขนมขบเคี้ยวคือเด็ก ซึ่งมูลค่าตลาดสูงใช่ย่อย ปีที่แล้วยอดสูงถึง 37,236 ล้านบาท (Positioning, 2562)

แต่ฉลาก GDA ที่แปะอยู่หน้าถุงขนมเหล่านี้ จะมีเด็กสักกี่คนที่อ่านและเข้าใจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใหญ่แล้ว จากข้อมูลที่เราเคยสำรวจเกี่ยวกับเครื่องหมายรับรองสินค้าอาหาร ผู้ใหญ่จะให้ความสำคัญกับเครื่องหมาย อ.ย. ค่อนข้างมาก แสดงถึงความตระหนักรู้ได้ค่อนข้างดี แต่เดาว่ายังคงน้อยกว่าสิ่งที่ อ.ย. อยากให้เป็น

ซึ่งเลขทะเบียน อ.ย. นี้ไม่เพียงแค่บ่งบอกว่าได้มาตรฐาน แต่เรายังสามารถนำเลขทะเบียนนี้ไปเชคได้ว่าตรงกับข้อมูลของ อ.ย. หรือไม่ 

เมื่อสัปดาห์ก่อน เราอยากรู้ว่า เพื่อนในเฟสของเราชอบดื่มน้ำอัดลมแบบไหนระหว่าง ‘สูตรดังเดิม’ และ’สูตรไม่มีน้ำตาล’ ก็ลองทำสำรวจง่าย ๆ ผ่านเฟส 

ปรากฏว่า …เพื่อน 55% ชอบแบบดั้งเดิม ขณะที่อีก 45% ชอบแบบสูตรไม่มีน้ำตาล เราอดห่วงเพื่อน 45% ของเราไม่ได้เลยว่า จะมีติดหวานมากขนาดไหน 

แต่ก็เข้าใจนะ เพราะสูตรไม่มีน้ำตาล หันกลับไปมองที่ขวดหรือกระป๋องสูตรไม่มีน้ำตาลจะเจอโลโก้ “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” สัญลักษณ์โภชนาการต้านโรคกลุ่ม NCDs โน้มน้าวเราอีกทาง 

เชื่อว่าไม่น้อย เลือกเพราะสัญลักษณ์นี้

“ทางเลือกสุขภาพ
(Healthier Choice)”

ด้วยความอยากรู้ต่อว่าคนที่รู้ว่ามีสไปรท์สูตรไม่มีน้ำตาลวางขายแล้ว จะมีความเห็นกันอย่างไรบ้าง จึงได้อ่านคอมเม้นของเพจ ผู้บริโภค และเพจ Drama-addict 

สิ่งที่เป็นกังวลกันอยู่ตอนนี้ คือ 

  • สารทดแทนความหวานที่มีผลกับอินซูลินมีตัวไหนบ้าง แล้วมีผลเสียกับร่างกายจริงหรือไม่ 
    • สารที่เจออยู่ตอนนี้คือ ซูคราโลส อะซีซัลเฟมโพแทสเซียม แอสปาแตม หญ้าหวาน (ไม่มีผลกับอินซูลิน 100% แต่แพง)
    • ส่วนผลเสียกับร่างกาย มีแน่ ถ้าคุณไม่ได้เป็นเบาหวาน เพราะสารเหล่านี้มันทำให้คุณติดหวาน และมีน่าจะมีงานวิจัยยืนยันผลเสียของร่างกายออกมาเรื่อย ๆ
  • มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ดื่มเพราะคำว่า “ไม่มีน้ำตาล” แล้วไม่ทราบว่า มีการใส่สารทดแทนน้ำตาลลงไปแทน อันนี้น่ากลัว
  • หลายคนดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลจนติด เพราะรสที่หวานแหลมมากกว่าสูตรปกติ จนติด อยากกินหวานมากขึ้น อันนี้แหละที่น่ากลัวมาก เพราะสารให้ความหวานยังคงกระตุ้นสมองให้รับรู้ถึงความหวาน แถมรสชาติก็ดันหวานกว่าน้ำตาลปกติเสียอีก 
  • มีบางคนต้องการเครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล แต่ขอให้ลดน้ำตาลลง แบบหวานน้อยลง ซึ่งเราว่า อันนี้ดี เพราะจะช่วยให้ลดการติดหวานได้

อันนี้เป็นข้อสังเกตเบื้องต้น ไว้มีเวลาจะนั่งวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกที แล้วจะมาเล่าให้ฟัง

สิ่งที่เราสังเกตได้คือ ตอนนี้ในตลาดมีเครื่องดื่มที่ใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเยอะขึ้นมาก ส่วนหนึ่งมาจากกระแสสุขภาพ และส่วนหนึ่งมาจากการปรับภาษีความหวานรอบ 2 ในช่วง 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2564 

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิตให้ข้อมูลว่าการจัดเก็บภาษีน้ำหวานจาก น้ำอัดลม, ชาเขียว, นม, น้ำผลไม้, เครื่องดื่มชูกำลัง, กาแฟกระป๋อง, เครื่องดื่มปรุงแต่งต่างๆ ฯลฯ ช่วงที่ผ่านมา สามารถเพิ่มรายได้ให้รัฐประมาณ 4,000 ล้านบาท

เราไม่ได้ดีใจกับตัวเลขภาษีที่เก็บได้มากขึ้น แต่เรากังวลใจมากกว่า เพราะยอดนี้ย้ำว่า คนไทยติดหวาน

การคิดภาษีความหวานจะคิดจากน้ำตาลทั้งหมดในเครื่องดื่ม (Total Sugar) ไม่มีการแยกว่าเป็นน้ำตาลที่เกิดจากวัตถุดิบของเครื่องดื่มหรือปรุงแต่งเพิ่ม เพื่อให้ง่ายต่อสรรพากรในการจัดเก็บภาษี คือ แค่ดูที่ฉลาก ก็นำไปคำนวณภาษีได้ว่าจะจัดเก็บเท่าไร

แต่คงดีไม่น้อยถ้าการเก็บภาษี จะจัดเก็บตามความหวานที่ลิ้นเราสัมผัสได้ ไม่ใช้วัดจากปริมาณน้ำตาลหรือสิ่งปรุงแต่งเพิ่มที่ใส่ลงไป

จากการพูดคุย ยังไม่ได้ทำวิจัยจริงจัง ตามประสาคนอยากรู้ ก็พอสรุปได้ว่า การเก็บภาษีสามารถสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้ คนดื่มก็ยังดื่มเหมือนเดิม

เราก็เลยคิดไปถึงว่า ไหน ๆ ตอนนี้เทคโนโลยีก็ก้าวหน้า น่าจะทำข้อมูลบนฉลากเป็นมิตรกับผู้บริโภคอย่างเรามากกว่านี้

ก็ในเมื่อข้อมูลมันเยอะแถมเข้าใจยาก บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มก็ต้องทำฉลาก ก็น่าจะใส่ข้อมูลโภชนาการทั้งหมดใน QR code แค่แสกนก็รู้ว่ามีอะไรบ้าง คราวนี้ปัญหาเรื่องตัวอักษรเล็กอ่านไม่ออกก็จะหมดไป 

ไอเดียต่อจากนั้นคือ น่าจะมีสัก App เมื่อแสกน QR code แล้ว จะสามารถบอกเราได้ว่า

  • สารอาหารแต่ละชนิดที่ปรากฏบนฉลาก อยู่ในเกณฑ์ เขียว เหลือง หรือแดง คล้ายๆ กับ ฉลากไฟเขียวไฟแดง (Traffic light labelling) ถ้าสีแดงเตือนแบบกระพริบๆ ด้วย จะได้รู้ว่าไม่ควรกินเยอะ
  • เตือนว่าควรกินแค่ไหนต่อครั้งและต่อวัน
  • ข้อระวังของการกินอาหารในมือท่านตอนนี้คืออะไรบ้าง
  • ใส่ข้อมูลด้านสุขภาพเข้าไปด้วยว่าเราต้องระวังอะไร ถ้ามีสารตัวใดที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อเราก็เตือน
ฉลากไฟเขียวไฟแดง (Traffic light labelling) 

เราก็ฟุ้งของเราไปเรื่อย แต่ถ้ามีคนทำก็คงดี หรือว่ามีแล้วก็บอกเราทีนะ เราจะได้ไปโหลดมาใช้ เพราะกว่าจะอ่านได้แต่ละที ปวดตาฉะมัด มันจะเล็กไปไหน ไม่ต้องนึกถึงคนที่สายตายาวเลยจ้าาาา หมดสิทธิ์

#ด้วยรักและห่วงใยจากทีมEatEcon

#เรื่องดีดีมีให้อ่านทุกวัน

หากเพื่อนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com

#eatecon

ที่มา

https://mgronline.com

Positioning. 2562. มูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยว (สแน็ค) ปี 2561. ออนไลน์: https://positioningmag.com/1223393

Image by Steve Buissinne from Pixabay 

Leave a Reply