ผลกระทบของตลาดหมูโลกจากสงครามภาษีทรัมป์

ในปี 2024 จีนนำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในรายใหญ่อันดับสองของจีน รองจากสเปน โดยสหรัฐฯ สามารถส่งออกเนื้อหมูและเครื่องในไปยังจีนประมาณ 438,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34,077 ล้านบาท (921 ล้านยูโร) ส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ ในจีนอยู่ที่เกือบ 20% โดยปริมาณ สิ่งสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังจีน ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน เป็นเครื่องใน และอีกหนึ่งที่เหลือคือเนื้อหมูแช่แข็ง (frozen cuts) หลักจากสหรัฐฯ เปิดฉากสงครามภาษี จีนได้ตอบโต้ด้วยการยกเลิกคำสั่งซื้อเนื้อหมูและเครื่องใน 12,000 ตัน ไปเมื่อเดือนก่อน

การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐฯ ในตลาดจีน ทำให้สหรัฐฯ ความจำเป็นต้องหาตลาดใหม่เพื่อรองรับผลผลิตจำนวนมหาศาลนี้และยังต้องเผื่อผลผลิตเนื้อหมูและเครื่องในที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เป้าหมายนั้นคงหนีไม่พ้นประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อนบ้านเรา

สิ่งสำคัญคือ จีนเป็นซื้อเครื่องในรายใหญ่จากสหรัฐฯ มีสัดส่วน 55% ซึ่งสูงกว่าเม็กซิโก (27%) และฟิลิปปินส์ (7%) มาก ตัวเลขนี้ชี้ให้เน้นย้ำว่า จีน คือ ตลาดสำคัญที่ดูดซับเครื่องในหมูของสหรัฐฯ ที่คนสหรัฐฯ ไม่กิน แถมยังมีตลาดทางเลือกที่จำกัด

Elisa Husson นักเศรษฐศาสตร์ของ IFIP คาดการณ์ว่า สหรัฐอเมริกาจะสูญเสียปริมาณเครื่องในที่ส่งออกไปยังจีนในปัจจุบันเพียงประมาณ 30% เท่านั้น โดยมีเม็กซิโกและฟิลิปปินส์เป็นเป้าหมายหลักในการส่งออก ซึ่ง Husson ประมาณว่าปริมาณการส่งออกเครื่องในของสหรัฐจะลดไปประมาณ 90,000 ตัน

ขณะที่ชิ้นส่วนเนื้อหมูแช่แข็ง จีนมีสัดส่วนเพียง 6% ของเนื้อแช่แข็งที่ส่งออกจากสหรัฐฯ ซึ่งชิ้นส่วนเนื้อหมูแช่แข็งนี้มีทางเลือกมากกว่าเครื่องใน ไม่ว่าจะเป็น เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ละตินอเมริกา และแคนาดา ฯลฯ อย่างไรก็ดี Husson ประเมินว่า มาตรการตอบโต้ของจีนต่อผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ จะนำไปสู่ปริมาณการส่งออกเนื้อหมูลดลงประมาณ 75% คิดเป็นปริมาณมากกว่า 330,000 ตัน

หากสหรัฐฯ ต้องรักษาตลาดส่งออก สหรัฐฯ ต้องลดราคา เพื่อรักษาสามารถแข่งขันกับหมูยุโรปและบราซิล ผลจากการลดราคานี้ Husson คาดว่าความสูญเสียจะสูงกว่า 9,250 ล้านบาท (โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนสมมติที่ 1 ยูโร = 37 บาท)

สงครามภาษีของทรัมป์ เปิดโอกาสให้คู่แข่งอย่างยุโรปและบราซิลเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจีน ซึ่งเหตการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยทรัมป์ 1 สำหรับแคนาดามีความเป็นไปได้ยากที่จะแย่งเค้กชิ้นนี้ เนื่องจากจีนเพิ่งยืนยันเก็บภาษีเพิ่มเติม 25% กับเนื้อหมูแคนาดา

ทั้งนี้ จีนได้ประกาศชัดเจนว่าจะเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้ากับกลุ่มประเทศ BRICS (โดยเฉพาะบราซิลและรัสเซีย) เค้กชิ้นนี้ของผู้ผลิตในยุโรปต้องแย่งชิงกับบราซิลรวมถึงรัสเซียด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ง่ายนัก เพราะทั้งบราซิลและรัสเซียมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ายุโรป

กรณีกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตลาดเอเชีย (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ฯลฯ) ประสบกับการขึ้นภาษีศุลกากรที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ด้วยราคาที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มประเทศเหล่านี้ น่าจะลดความต้องการซื้อเนื้อหมูจากสหรัฐฯ ลง โดยหันไปซื้อจากกลุ่ม EU-27, บราซิล, หรือแคนาดา ทดแทน

กรณีกลุ่มสหภาพยุโรป (EU-27) ก็ไม่ได้รับการละเว้นจากสงครามการค้าเช่นกัน ผลิตภัณฑ์จากยุโรปจะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 20% เนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูประมาณ 100,000 ตันจะได้รับผลกระทบ โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้อชิ้นและผลิตภัณฑ์แปรรูป

ด้วยความได้เปรียบในตลาดนี้ กลุ่ม EU-27 น่าจะพยายามรักษาระดับปริมาณการส่งออกเนื้อชิ้นและผลิตภัณฑ์แปรรูปไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากทางกลุ่มได้รับอนุญาตให้ส่งออก ซึ่งเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีคู่แข่งน้อย โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ไส้กรอกอิตาลี แฮมจากสเปน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทดแทนได้ยากและมีความเฉพาะเจาะจงการรักษาตลาดสหรัฐฯ ไว้จึงไม่ยากนักและน่าจะเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มน่าจะพยายามรักษาไว้ให้ได้ เพราะมีความได้เปรียบต่อไป

กลุ่ม EU-27 อาจตัดสินใจลดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์อาจลดลง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งประมาณการผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของภาษีศุลกากรสำหรับเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์แปรรูปคาดว่าจะทำให้ผู้ส่งออกในยุโรปสูญเสียกำไรมากกว่า 115 ล้านยูโร หรือประมาณ 4,270.985 ล้านบาท โดย 2 ใน 3 จะมาจากผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

Husson คาดว่าผลกระทบส่วนใหญ่จะตกกับผู้ส่งออกชาวอิตาลี (ผลิตภัณฑ์แปรรูป 20,000 ตันในปี 2024), ผู้ส่งออกชาวโปแลนด์ (8,000 ตัน) และผู้ส่งออกชาวเดนมาร์ก (7,000 ตัน) ซึ่งปริมาณการส่งออกที่ลดลงจะเป็นแรงกดดันตลาดเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ในยุโรป ที่ต้องหาตลาดทดแทนสหรัฐฯ ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือ ตลาดจีน   

ยักษ์ใหญ่ทะเลาะกัน ตาอยู่อย่างยุโรปและบราซิลก็ไม่พลาดที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งนี้มาครอง

ในตลาดจีน ผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูของยุโรปและบราซิล (เนื้อชิ้นและเครื่องใน) มีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ และแคนาดา ด้วยเงื่อนไขทางด้านราคาของบราซิล และการผลิตที่เป็นไปตามเงื่อนไขด้านสุขอนามัยของกลุ่มยุโรปอยู่แล้วในช่วงสามปีที่ผ่านมา ผลจากสงครามภาษีครั้งนี้น่าจะทำให้กลุ่มสหภาพยุโรปและบราซิลสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งมาได้ประมาณ 450,000 ตัน (เนื้อหมูและเครื่องใน)  

IFIP ประเมินสถานการณ์ส่วนแบ่งตลาดเนื้อหมูและเครื่องในที่บราซิลและ EU-27 ต้องแข่งขันกันออกเป็น 3 สถานการณ์:

  • การแบ่งส่วนในปัจจุบัน: 15% สำหรับบราซิล และ 50% สำหรับ EU-27, 35% อื่นๆ
  • เท่ากันระหว่างผู้ส่งออก: 50% – 50% ระหว่างบราซิลและ EU-27
  • การเติบโตของบราซิล: 50% สำหรับบราซิล และ 30% สำหรับ EU, 20% อื่นๆ

นอกจากตลาดจีนแล้วยังมีตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะซื้อเนื้อหมูสหรัฐฯ ด้วยเงื่อนไขทางด้านราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผลของการค้าในตลาดเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างซัพพลายเออร์และผู้ซื้อในเอเชีย และยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของการผลิตเนื้อหมูในภูมิภาคเป็นสำคัญ

เมื่อพิจารณาศักยภาพการผลิตของบราซิล ในปี 2025 แนวโน้มการเติบโตเป็นบวกเล็กน้อย (+1.2% ในการผลิตเมื่อเทียบกับปี 2024 หรือ +54,000 ตันของซากสุกร) แม้ว่าราคาถั่วเหลืองที่คาดว่าจะสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเล็กน้อย ไม่น่ากระทบต่อศักยภาพในการส่งออกหมูของบราซิล

ในขณะที่แนวโน้มของ EU-27 ยังคงทรงตัว และมีรายงานการเกิดโรค ASF ในบางประเทศ ทำให้ความพร้อมของสหภาพยุโรปเสียเปรียบกว่าบราซิลในปี 2025  

Husson ประเมินว่า การเพิ่มขึ้นของความต้องการเนื้อหมู 125,000 ตัน สำหรับกลุ่ม EU-27 จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาการผลิตของกลุ่มต่อปีประมาณ 1.1% ขณะที่การเพิ่มขึ้นของความต้องการส่งออก 225,000 ตัน จะส่งผลให้ราคาเนื้อหมูในตลาดฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีประมาณ 2.7% แนวโน้มเหล่านี้มีแนวโน้มที่ดีสำหรับผู้เลี้ยงสุกรและผู้ส่งออกในฝรั่งเศส ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปอาจได้รับผลกระทบเชิงลบมากขึ้น เนื่องจากการคาดการณ์ราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น

สงครามการค้าที่นำโดยประธานาธิบดีทรัมป์นอกเหนือจากผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงต่อห่วงโซ่คุณค่าของเนื้อหมูแล้ว ยังส่งผลกระทบทางอ้อมตามมา ทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาที่คาดการณ์ไว้สำหรับผู้บริโภค ทั้งในสหรัฐฯ และจีน รวมถึงความไม่แน่นอน ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง

สงครามครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์โลก แต่ในวิกฤตก็มีโอกาส แต่โอกาสมีไว้สำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมรับมือเท่านั้น

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลนำโดย รมว.คลัง ประกาศยืนยันไม่นำเข้าเนื้อหมู-เครื่องในจากสหรัฐฯ เนื่องจากไม่ได้ขาดแคลน และสามารถผลิตเกินความต้องการในบางช่วง ก็ขอให้เป็นดังคำที่ท่านลั่นวาจาไว้ มิเช่นกัน สงครามภาษีครั้งนี้จะกลายเป็นการขุดหลุมฝังกลบจบอาชีพเลี้ยงสุกรของเกษตรกรไทย

#EatEcon

ที่มา: pig333.com