ยุคข้าวยากหมากแพงกำลังจะรุนแรงขึ้น

จากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) พบว่า ในปี 2562 ประชากรของโลกประมาณ 135 ล้านคน เข้าสู่ภาวะอดอยาก และข้อมูลจากโครงการอาหารของโลกแห่งสหประชาชาติ (World Food Program : WFP) ประมาณการว่าการระบาดของ COVID-19 ประชากรโลกประมาณ 265 ล้านคนเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการขาดแคลนอาหารและอดอยาก หิวโหย

ในปีนี้ประเทศผู้ผลิตอาหารสำคัญอย่างบราซิลและอาร์เจนตินายังถูกซ้ำเติมด้วยภาวะภัยแล้ง ปัจจุบันด้วยสถานการณ์สงครามที่โลกเรากำลังเผชิญโดยที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าน่าจะยืดเยื้อกว่าที่คาดการ์ไว้ ได้ซ้ำเติมสถานการณ์การขาดแคลนอาหารในหลายประเทศ ซ้ำเติมภาวะความไม่มั่นคงทางอาหาร (Food insecurity) หลายประเทศปรับนโยบายเพิ่มการนำเข้าอาหารและกำจัดปริมาณการส่งออก รวมถึงปัจจัยการผลิตอาหารสำคัญอย่างปุ๋ยเคมี และยังมีปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้าอาหารระหว่างประเทศจึงถึงปัจจุบันและในอนาคต

ภาพที่ 1 มาตรการนำเข้าและส่งออกอาหารปี 2563-2565 (1)

มาตรการใหม่ๆ ออกมาประมาณ 25% ใน 35 ประเทศ เพื่อจำกัดการส่งออกอาหาร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ราคาข้าวสาลีที่ปรับตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด (ภาพที่ 2) ทำให้ภาวการณ์ขาดแคลนอาหารของโลกโลกทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

ภาพที่ 2 ราคาข้าวสาลีช่วง 1 มกราคา – 23 มีนาคม 2565 (2)

สิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลกสาเหตุจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ประชาชนในประเทศที่มีรายได้สูง ปานกลาง และต่ำ ล้วนต้องเผชิญกับปัญหาอาหารราคาแพงกระทบต่อความสามารถในการจ่ายอาหารไม่เพียงเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบาง ทุกคนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ที่แล้วร้ายกว่านั้นคือเด็กบางส่วนต้องหยุดเรียน (2) เมื่อประเทศต่างๆ  ยังคงมาตรการแทรกแซงทางการค้าสถานการณ์ราคาสินค้าก็จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป และมันจะกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ นี่ขนาดสต๊อก ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังไม่ต่ำจนกลับมาซ้ำเติมสถานการณ์ แต่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าก็พุ่งทยานไปเรียบร้อย

ล่าสุด ลุงโจ ประธานาธิบดีของสหรัฐก็ได้ออกมายอมรับต่อสถานการณ์ขาดแคลนอาหารเกิดขึ้นแล้วในประเทศเช่นกัน และสถานการณ์วิกฤติปุ๋ยของสหรัฐก็กำลังแย่ลงทั้งราคาที่พุ่งทยาน รวมถึงปัญหาการลดจำนวนของการขนส่งทางรถไฟในหลายรัฐ เช่น Iowa, Illinois, Kansas, Nebraska, Texas and California

ที่ต้องรอดูต่อไปคือผลการล๊อคดาวน์ของจีนที่ 400 ล้านคนใน 45 เมืองใหญ่ของจีนตามนโยบาย Zero-COVID ยังไม่อยากคิดว่าจะก่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกขนาดไหน เพราะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากคนจำนวน 40% ของประชากรจีนนี้สร้างรายได้สูงถึง 7.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นี่คือปัญหาโซ่อุปทานอาหาร (Food supply chain) ที่กำลังจะรุนแรงเพิ่มขึ้น (3)

หากกลับมามองย้อนที่ประเทศไทย สถานการณ์ขาดแคลนอาหารนั้นนับว่าสบาย เรามีเหลือเฟือ จัดการได้ แต่สถานการณ์ ราคาพลังงานที่ไม่สามารถตึงต่อได้ไหวจะดันต้นทุนการผลิตอาหารให้เพิ่มขึ้นจนราคาสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นในอีกไม่นานนี้

คงไม่ต้องบอกว่าตอนนี้เราไม่สามารถใช้จ่ายได้คล่องมือเหมือนแต่ก่อน จะกินอะไร จะซื้ออะไร เราคิดกันมากขึ้นกว่าอดีต อันเป็นพฤติกรรมทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นปกติเวลาที่เราเผชิญปัญหาข้าวยากหมากแพง และเราต้องเตรียมพร้อมรับมือแล้วก้าวผ่านไปให้ได้

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน เราผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

#EatEcon

ที่มา

1. https://www.worldbank.org/en/topic/trade/brief/coronavirus-covid-19-trade-policy-database-food-and-medical-products

2. https://www.barrons.com/articles/global-food-crisis-world-bank-51649369287?tesla=y

3. http://theeconomiccollapseblog.com/3-factors-which-are-about-to-make-the-coming-food-shortages-even-worse/

Photo by Tbel Abuseridze on Unsplash