สเน่ห์ของความไม่สมบูรณ์แบบ

  • การยืดอก ‘ยอมรับความผิดพลาด’ คือ การแสดงความจริงใจ และสื่อถึงความน่าเชื่อถือ แสดงถึงความไม่สมบูรณ์แบบที่ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีความน่าดึงดูด เข้าถึงง่าย และเป็นธรรมชาติ ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการนี้ว่า The Pratfall Effect นี่ช่วยอธิบายได้อย่างดีว่าทำไมคนที่ทำอะไรโก๊ะ ๆ ดูมีสเน่ห์ ไม่มีพิษมีภัย น่าคบหา 

ปัญหาหนึ่งของมนุษย์จำพวกสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) หรือ ‘มนุษย์เป๊ะ’ ทั้งหลาย คือ การควบคุมความเครียดที่เกิดจากความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ และเมื่อเริ่มเยอะขึ้น จนเกิดการสะสมมากขึ้น ก็นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ 

เรายอมรับว่าเดิมทีเราก็เป็นมนุษย์เป๊ะกลาย ๆ แต่ไม่มาก ชอบมองแต่ข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่มีใครเห็นหรือสนใจ 

แต่ Nobody’s perfect ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ผิดไปแล้วก็ ‘ช่างมัน’

แต่ใช่ว่าเราจะทำทุกอย่างแบบผ่านไปที อันนี้ไม่ใช่ 

เราปล่อยสิ่งที่ย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ให้มันไป แล้วทำหน้าที่เราให้ดีที่สุด

นั่นคือ เรายังคงต้องทำทุกอย่างเต็มที่ แต่ปล่อยวางเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น 

ความไม่สมบูรณ์แบบนี่แหละทำให้เรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และมีความน่าดึงดูด เข้าถึงง่าย เป็นธรรมชาติ

ในทางจิตวิทยาเรียกปรากฎการณ์เหล่านี้ว่า The Pratfall Effect ถูกค้นพบโดยนักจิตวิทยาชื่อ Elliot Aronson

The Pratfall Effect นี่ช่วยอธิบายได้อย่างดีว่าทำไมคนที่ทำอะไรโก๊ะ ๆ ดูมีสเน่ห์ ไม่มีพิษมีภัย น่าคบหา 

เชื่อหรือไม่ว่า เวลาสัมภาษณ์งาน ถ้าผู้สมัครมีการเล่าหรือยอมรับว่าเคยทำอะไรผิดพลาดมา มักจะได้คะแนนความพึงพอใจจากผู้สัมภาษณ์มากกว่า หลายคนคงมีประสบการณ์แบบนี้ [1]

การยืดอก ‘ยอมรับความผิดพลาด’ คือ การแสดงความจริงใจ และสื่อถึงความน่าเชื่อถือ

ในวงการธุรกิจไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอาหารก็มีการนำ The Pratfall Effect ไปประยุกต์ใช้เช่นเดียวกัน 

ตัวอย่างคือ ZenithOptimedia ให้นักจิตวิทยาชื่อ Adam Ferrier ถามผู้บริโภคจำนวน 626 คน เลือกคุกกี้ที่มีขอบขรุขระ (ภาพซ้าย) กับขอบเรียบ (ภาพขวา) และพบว่า กลุ่มตัวอย่างชอบคุกกี้แบบภาพซ้ายมากกว่าถึง 66% ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าสินค้าจะไม่สวยงามสมบูรณ์แบบ แต่มันขายได้ และขายได้ดีด้วย [2] 

ภาพที่ 1 การทดลองของ ZenithOptimedia. ภาพโดย 2013 Thamer Photography

ที่มา: guardian.com

‘Naughty but nice’ คำที่ Lyons cream cake ให้นิยามขนมของร้านว่า แม้จะเต็มไปด้วยน้ำตาล ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่มันคุ้มค่าที่จะลอง เพราะมันอร่อย เอาสิ ยอมรับกันตรง ๆ นี่แหละ แล้วจะกินมั้ย มันอร่อยนะ 555

ย้อนกลับมาที่สินค้าเกษตรของไทยเรา 

ปัจจุบันเราจะเห็นผักผลไม้อินทรีย์วางขายในท้องตลาดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งคงเป็นที่ถูกอกถูกใจของสายสุขภาพกันไม่น้อย

ถ้าใครเคยปลูกผักจะพบว่า การไม่ใช้สารเคมี เป็นความท้ายทายอย่างยิ่งของเกษตรกรไทย เพราะเกษตรกรรอบพื้นที่ใช้กันหมด 

ถ้าเราปลูกเอง ผักจะมีรอยแหว่งจากการกัดกินของแมลงศัตรูพืช แม้จะไม่สวยงาม แต่ก็ภูมิใจสุด ๆ เพราะไม่ใช้ยา แต่ผู้ซื้อมักไม่ชอบ เสียดายที่ The Pratfall Effect ใช้ไม่ได้ในช่วงนั้น ทำให้เกษตรกรหลายรายยอมแพ้

แต่ทุกวันนี้ต้นทุนของการปลูกผักอินทรีย์หนึ่งที่สำคัญ นอกเหนือจากเวลาที่ต้องใช้มากกว่าปกติ คือโรงเรือนหรือมุ้งที่ป้องกันแมลงศัตรูพืช เพื่อให้ผักมีความสวยงามสู้กับผักในตลาดได้ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผักอินทรีย์มีราคาแพง แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อยอมรับและเริ่มชินกันแล้ว 

ภาพของการโพสต์ขายผลไม้ของชาวสวน พร้อมสโลแกน “สด ๆ ส่งตรงจากสวน” ด้วยความไม่ถนัดด้านการตลาด ภาพไม่ค่อยชัด รูปไม่ค่อยสวย 

แต่ก็กระตุ้นความรู้สึกและชวนให้เราอยากกินได้ค่อนข้างมาก The Pratfall Effect ทำงานได้ดีเลยทีเดียว ^ ^

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี เชื้อเชิญให้ชาวสาวขายผลผลิตออนไลน์ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี 

คงต้องเน้นย้ำว่า การขายออนไลน์ไม่ได้สามารถดูดซับผลผลิตได้ทั้งสวน 

แต่ ชาวสวนจะคัดผลไม้เกรดพรีเมียม มาให้ผู้บริโภาคแน่นอน เพราะราคาที่ขายได้นั้นดีกว่าราคาขายแบบคละเกรดแก่ล้งหรือผู้รวบรวม 

ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างหนึ่งเกษตรกรที่ปรับตัว จะเห็นว่าที่ขั้วมีป้ายง่ายๆ บอกว่ามาจากสวนบ้านเรา พันธุ์หมอนทอง พร้อมระบุด้วยว่าต้นไหน แถมมีเบอร์โทรพร้อม ง่ายๆ แต่น่ารัก

และอีกประเด็นสำคัญคือ ผลไม้ที่ชาวสวนส่งไปนั้น จะเก็บแบบแก่จัด เมื่อถึงมือลูกค้า จะลืมต้นแบบพอดีกำลังอร่อย สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ คำชมว่า ‘ผลไม้อร่อยมาก’ นี่แหละ กำลังใจอันดีเยี่ยม  

การริเริ่มทำในสิ่งที่ไม่ถนัด ไม่ยอมแพ้กับโชคชะตา ต่อสู้ดิ้นรน และปล่อยให้ The Pratfall Effect ทำงาน 

เพราะไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ผลที่ตามมามันสวยงามเสมอ

เป็นกำลังใจให้เกษตรกรไทยทุกคน

#ทีมEatEcon

ที่มา

[1] Silvester, J., Anderson-Gough, F. M., Anderson, N. R. and Mohamed, A. R. (2002). Locus of control, attributions and impression management in the selection interview. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 75, pp. 59-76. doi: 10.1348/096317902167649

[2] https://www.theguardian.com/media-network/2015/oct/28/pratfall-effect-brands-flaunt-flaws?fbclid=IwAR1Cy8n0jSxeG45drVb5GG5ThU9zFLE4RSN8kD_sbcuctL4irMwHYzNLm5o

[3] Salmon.lab. 2019. – https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=397134601016893&id=279792142751140 access on 29 April 2019.

ภาพจาก Chaoying Sringam

Leave a Reply