“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences

คนรอบข้างน้ันสำคัญ

ลดน้ำหนัก ไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายๆคน ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่มีสัดส่วนประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนสูงถึงร้อยละ30ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา(เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนคนไทยประมาณร้อยละ50 มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน) หากท่านผู้อ่านอยากทราบว่าตัวท่านเองนั้นอยู่ในระดับใด สามารถใช้การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้โดยคำนวณจากน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง (กก./ม2) การเพิ่มขึ้นของประชากรไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุขทั้งหมายต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคที่เรียกว่าโรคกลุ่มNCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable