เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –

เรื่องเล่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ สายพันธ์ุข้าวที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของข้าวสายพันธ์ุนี้ก่อนละกัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ทีมวิจัยของ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาของข้าวไทยและความต้องการของผู้บริโภคข้าวไทยในอนาคตที่เน้นกลุ่มข้าวที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ทีมวิจัยได้เลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นพ่อ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ ซึ่งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ข้าวเจ้าหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้สีเข้ม แต่ข้อเสียคือ