5,000 จะใช้อย่างไรดี

คาดว่ามาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 รายละ 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่หลายคนเฝ้ารอจะทยอยได้กันเร็ว ๆ นี้ 

คำถามคือ เราควรจะใช้เงินจำนวนนี้อย่างไร แล้วมันทำให้เรารู้สึกอย่างไร

แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้อยากได้ แต่เงินได้เปล่าก้อนนี้ ก็ทำให้ยอดการลงทะเบียนมากกว่า 23 ล้านคน ประมาณว่าลงทะเบียนไว้ก่อน แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้เข้าเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม การคัดกรองจึงต้องใช้เวลาไม่น้อย และ

เราเชื่อว่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์จะได้รับ เงินก้อนนี้ 

ดังนั้น การใช้เงินจำนวน 5,000 บาทนี้ จึงน่าสนใจ 

เราขอแบ่งเป็นสัก 3 กลุ่ม ละกัน

1) กลุ่มเป้าหมายหลักของการใช้เงินเยียวยา เงินจำนวนนี้ถือเป็นการต่อชีวิต ผลจากการถูกพักงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่หาเช้ากินค่ำ ไม่มีงาน = ไม่มีเงิน = ไม่มีกิน 

คนกลุ่มนี้น่าจะใช้เงินส่วนแรกไปกับสิ่งที่เป็น “ความรับผิดชอบ” เช่น อาหารของใช้จำเป็น และหนี้ต่าง ๆ ที่ต้องชำระ ร้านขายของชำใกล้บ้านที่รับแปะโป้งไว้ ก็จะมีเงินไปซื้อของมาขายต่อ

หากจัดสรรดีดี หากมีเงินเหลือก็ควรจะเก็บไว้ หรือเอาไปลงทุนทำอะไรเล็กๆ เพื่อเพิ่มรายได้สู้กับวิกฤติ

และน่าจะบางส่วนมีการนำไปใช้กับเรื่องพักผ่อนหย่อนใจ เช่น แอลกอฮอล์ คงจะเอาไปเที่ยวไม่ได้ เพราะเจอเคอร์ฟิว 

2) กลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาล แต่ให้ฟรีก็เอา หากได้เงินก้อนนี้ เดาว่าน่าจะมีบางส่วนเอาไปทำบุญ หรือบริจาคให้โรงพยาบาลเพื่อช่วยสู้กับ Covid-19

3) กลุ่มที่ลุ้นว่าจะได้มั้ย (ไม่เข้าเกณฑ์ แต่ลงทะเบียน) กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะนำเงินไปใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น ซื้ออาหารมาฉลอง อาจสั่งแบบ Delivery มากิน หรือขับไป Drive Thru สั่งชุดสุดคุ้ม ของร้านต่าง ๆ มากิน

ในหัวเราคิดอยากกินแค่ ไก่ทอด หรือ เบอร์เกอร์ แต่จะมีสั่งกี่ครั้งที่เราสั่งเฉพาะที่เราอยากกิน โดยไม่สั่งแบบชุด ทั้งๆ ที่อยากกินแค่เบอร์เกอร์

สุดท้ายเราต้องจ่ายเพิ่มเพราะ เราคิดว่าสั่งแบบชุด “คุ้ม” กว่า ตามมาด้วย “เพิ่ม 5 บาทมั้ยคะ ได้แก้วใหญ่ เพิ่ม 10 บาทมั้ยคะ ได้เฟรนฟรายด์ชุดใหญ่” บลา…บลา…บลา …สั่งสิคะ ออกจะ “คุ้ม” 

คำถามคือ เราคุ้มหรือร้านคุ้ม !!!

แทนที่จะจ่ายแค่เบอร์เกอร์ชิ้นเดียว กับต้องมาจ่ายค่าเพิ่มขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เราอยากได้จริงเหรอ 

นี่เป็นปกติ 

เมื่อเราต้องเผชิญกลับชุดโปรโมชันสุดคุ้ม ที่ทางร้านนำเสนอให้เรา แล้วเราก็เต็มใจเดินไปในหลุมพลางนี้สะด้วย เพราะในหัวเราจะคิดเปรียบเทียบขึ้นมาทันที่ที่ได้รับเสนอต่าง ๆ แล้วก็สรุปว่า “คุ้ม” 

พอกลับนั่งกินเสร็จ แล้วก็นั่งมองอาหารเหลือที่ถูกทิ้งเพราะคำว่า “คุ้ม” 

กลายเป็นจ่ายแพงกว่าที่ควรจะอิ่ม แล้วก็มาปลอบตัวเองว่า ไม่เป็นไร เก็บได้ ถามจริงๆ มีสักกี่ครั้งที่เก็บไว้แล้วกินจนหมด มีกี่ครั้งที่ “เก็บแล้วทิ้ง”

ณ เวลานี้ ขอให้กลัวคำว่าคุ้มกันสักหน่อยจะดีกว่า เอาแค่สิ่งที่อยากกินจริงๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะต้องใช้ชีวิตอยู่แบบนี้อีกนานแค่ไหน

นับจากนี้ใช้จ่ายแต่ละครั้งต้องคิดให้มาก อย่าปล่อยให้อารมณ์ความอยากนำพาเราสู่วิกฤติซ้อนวิกฤติ

เราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

#อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ

ด้วยรักและเป็นห่วง

#EatEcon
Photo by taokaemai.com