น้ำตาลคือจำเลย

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้คนไทยเลิกกินน้ำตาล ซึ่งจะไม่ยุติธรรมกับ “น้ำตาล” และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำตาลเท่าไร เราเองก็มีส่วนได้รับประโยชน์จากน้ำตาล ครอบครัวของเรามีไร่อ้อย อยู่ในจังหวัดกาญจบุรี ขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล ช่วงฤดูฝนของทุกปีจะต้องมาลุ้นว่าปีนี้ฝนจะเยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ต้องสูบน้ำเข้าไร่อ้อย เสียค่าน้ำมันไม่ใช่น้อยต่อการสูบแต่ละครั้ง ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ได้น้ำหนัก ได้ค่าความหวาน และสุดท้ายก็จะต้องลุ้นว่าราคาอ้อยจะเป็นอย่างไร ราคาอ้อยปีนี้ประมาณตันละ 680 บาท ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งหลาย ครม.

ว่าด้วยเรื่องของไข่

เราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ถึงขั้นเรียกกว่าอยู่ในกลุ่มน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ก็กว่าได้ (BMI 17.8 ซึ่ง ช่วงของเกณฑ์ปกติ คือ 18.5–22.9) ปัญหาหนึ่งของเราคือคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดสูง ซึ่งคนที่ผอมทั้งหลายมักจะมีปัญหานี้ เคยคิดเล่นๆว่า เป็นเพราะเราไม่มีไขมันให้คลอเรสเตอรอลไปสะสม คุณเธอเลยมาอยู่ในเลือดแทนมั้ง ความตั้งใจของเราคือ กินไข่วันละฟอง โดยเราจะเลือกกินไข่ต้ม ยิ่งต้มได้ยางมะตูมยิ่งฟิน จริงๆไข่เจียว ไข่ดาวก็ชอบแต่เพราะอยู่คอนโด เมนูทอดและผัดถูกเราแบน

อาหารสิ้นคิดเบอร์หนึ่ง

ภาพจาก http://orataiyanoo.blogspot.com/2017/04/blog-post_10.html เมื่อพูดถึงอาหารสิ้นคิด ผัดกะเพรา ไข่เจียว ข้าวเหนียวหมูปิ้ง หนึ่งในสามเมนูนี้ มักจะเป็นเมนูแรกๆที่หลายคนเอ่ยถึง คำถามคือทำไมเราถึงนึกเมนูนี้ได้เป็นเมนูแรกๆอาจเรียกได้ว่าหลุดออกมาจากปากโดยที่เรายังไม่ได้คิดด้วยซ้ำ การตัดสินใจนี้ผ่านการคิดแบบอัตโนมัติ ซึ่งรวดเร็ว ฉับไว และเป็นไปโดยสัญชาตญาณ ซึ่งไม่ต้องอาศัยการคิดมากมายอะไร นั่นหมายถึงว่าการเลือกเมนูที่จัดอยู่ในกลุ่มอาหารสิ้นคิด เช่น ข้าวผัดกะเพราะไก่ไข่ดาว แทบจะไม่ต่างอะไรกับการเลือกเมนูโปรด โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งรีบที่ต้องแข่งกับเวลาอย่างมื้อกลางวัน หากจะแตกต่างอย่างมากกับการเลือกเมนูในมื้อเย็นที่มีเวลามากขึ้นในการคิดและตัดสินใจ และจะยิ่งต้องคิดมากขึ้นอาหารมื้อนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เราคนเดียว

ความล้มเหลวของตลาดกับสุขภาพ

การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถลดอัตราการเติบโตนี้ได้ในระยะเวลาอันใกล้ มีปัจจัยหลายๆอย่างที่สนับสนุนการอัตราการเพิ่มของประชากรกลุ่มนี้ วันนี้ผู้เขียนของแสดงความเห็นในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายการเติบโตของประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนด้วย ความล้มเหลวของตลาด(Market failure) คนหนึ่งคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าข่ายผู้มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เมื่อตลาดนั้นไม่สามารถตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ภายใต้เงื่อนไขตลาดแข่งขันสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ เงื่อนไขแรกคือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคในอุตสาหกรรมนั้นมีมาก จนทำไม่มีผู้ใดมีอำนาจในการกำหนดราคา นำมาซึ่งเงื่อนไขต่อมาคือ ทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อเป็นผู้รับราคาจากตลาดที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน (Price taker) ผู้ผลิตจะเข้าหรือออกจากตลาดเป็นไปอย่างเสรี

“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences

คนรอบข้างน้ันสำคัญ

ลดน้ำหนัก ไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายๆคน ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่มีสัดส่วนประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนสูงถึงร้อยละ30ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา(เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนคนไทยประมาณร้อยละ50 มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน) หากท่านผู้อ่านอยากทราบว่าตัวท่านเองนั้นอยู่ในระดับใด สามารถใช้การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้โดยคำนวณจากน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง (กก./ม2) การเพิ่มขึ้นของประชากรไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุขทั้งหมายต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคที่เรียกว่าโรคกลุ่มNCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable

1 4 5 6