ยกระดับหมอนทองไทยด้วยการสร้างแบรนด์

คอทุเรียนปีนี้คงได้อิ่มเปรมกับหมอนทองกันไม่น้อยด้วยความเอาจริงเอาจังและตื่นตัวกับการตัดทุเรียนแก่ได้มาตรฐาน เพื่อรักษาคุณภาพหมอนทองไทย  แม้ปัจจุบันไทยยังสามารถครองสัดส่วนตลาดทุเรียนในจีนมากที่สุด แต่ในไม่ช้าผลผลิตทุเรียนจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนใหญ่นี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากหมอนทองแล้วปีนี้หลายคนคงได้มีโอกาสลิ้มลองทุเรียนก้านยาว พวงมณี หรือแม้แต่พันธุ์มูซันคิง โอฉี หนามดำ ทุเรียนชื่อดังของมาเลเซียที่ขายได้ราคาในตลาดจีน แต่ปัจจุบันผลผลิตในไทยเริ่มออกมาเช่นกันด้วยเหตุที่มีผู้ประกอบการและบริษัทที่ปรึกษาทางการเกษตรขยายพื้นที่การปลูกทุเรียนพันธุ์เหล่านี้ในหลายพื้นที่ของไทย ตัวผู้เขียนได้มีโอกาสทดลองชิมพันธุ์มูซันคิง หากเทียบกับหลากหลายสายพันธุ์ที่ได้ลิ้มลอง ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้นคิดว่า ในเรื่องของรสชาติ เนื้อสัมผัส กลิ่นหอมที่มีเสน่ห์ของทุเรียนสายพันธุ์ของไทยอย่าง กบพิกุล กบชายน้ำ เหนือกว่า

ปั้นทุเรียนเบญจพรรณ ให้เป็น ทุเรียนขั้นเทพ (Divine durian)

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยนิสัยอยากรู้อยากลองทำให้ปีนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสลองชิมทุเรียนหลายพันธุ์ จากหลายสวน ได้แก่ หมองทองจาก 7 สวน ก้านยาว 5 สวน เม็ดในยายปราง 3 สวน กบสุรรรณ 2 สวน นอกจากนี้ยังมี กบชายน้ำ กบพิกุล นกหยิบ ทองกมล

Specialty durian ทางออกของทุเรียนไทย

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ ทุเรียนเป็นหนึ่งในสินค้าที่เป็นกลุ่มไม่รักก็เกลียดเลย (Like it or hate it) แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และอิทธิพลของแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้ง E-commerce และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้กลุ่มเกลียดเลยมีแนวโน้มสัดส่วนลดลง ความคลั่งไคล้ของผู้ชื่นชอบทุเรียนได้ส่งผ่านไปยังสื่อสังคมออนไลน์กระตุ้นการบริโภคทุเรียนได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันตลาดผู้บริโภคทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นพี่จีน แม้ในอดีตทุเรียนจะเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ปัจจุบันความรู้สึกของผู้บริโภคชาวจีนได้เปลี่ยนไปกลายเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม การบริโภคทุเรียนกลายเป็นภาพลักษณ์ทางสังคม นิยมซื้อเป็นของฝากให้ญาติสนิทมิตรสหาย เอาแค่ช่วงสั้น ๆ เช่น