เราจะทนพิษบาดแผลไหวมั้ย?

ตั้งแต่โควิด-19 มาเยือน ราคาอาหารทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากโซ่อุปทานได้รับผลกระทบจากกำลังแรงงานติดเชื้อโควิด-19 รวมไปถึงมาตรการล็อคดาวน์ของประเทต่าง ๆ ซึ่ง OECD และ UN คาดการณ์ว่า ราคาอาหารจะเริ่มลดลงในปีหน้า นั่นหมายถึง เรายังคงต้องเผชิญกับภาวะราคาอาหารสูงกันต่ออีกครึ่งปี 

โควิด-16 ได้โจมตีเงินในกระเป๋าของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคซ้ำๆ จนอ่วม หลายคนยกธกขาวไปเรียบร้อย 

ราคาอาหารทั่วโลก (Global food price)  ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาสูง ทั้งจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและอุปทานชะงักจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นแทบจะทุกประเภท จนตอนนี้เรียกได้ว่าสูงสุดในรอบทศวรรษก็ว่าได้ 

ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญภาวะอาหารขาดแคลนมากขึ้นในหลายประเทศ ไม่เว้นประเทศที่สามารถผลิตอาหารได้อย่างไทย ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์โรคด้านปศุสัตว์ที่ลดจำนวนประชากรสัตว์ เช่น หมู ของประเทศไปเป็นจำนวนมาก 

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อปากท้องของครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ส่วนมากถูกเลิกจ้าง กลับต่างจังหวัดเพื่อพักพิง ค่อยคิดอ่านหลังสภานการณ์ดีขึ้น 

หลายครัวเรือนต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด หันเพิ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ปลูกผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง ข้างบ้านไว้ทางเอง หรือถนอมเอาหารไว้ทานในอนาคต เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร 

มาตรการการช่วยเหลือของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เป็นมาตรการเอาเงินยัดใส่มือผู้บริโภคให้จับจ่ายใช้สอย แต่มาตรการนี้คงไม่สามารถใช้ได้บ่อยๆ เพราะกระสุนภาครัฐก็เหลือน้อยนิด 

คงได้แต่หวังว่าเงินเฟ้อที่กำลังเร่งตัวจะชะลอในเร็ววัน และมาตรการที่รัฐออกมาจะทันการณ์ในการรับมือ

ที่มา

1. วันดี ชูรินทร์. 2564. ความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนกลุ่มเปราะบางและการปรับตัวในช่วงโควิด-19 กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-07-05/consumers-to-get-relief-from-surging-food-costs-in-coming-years?fbclid=IwAR1jQNPWoEQUw4tAYet2PV5CefBWcMH9zE2hwukDk-SyOFPibxlu_LEtkJ4

ภาพโดย Jörg Prohaszka จาก Pixabay