มะพร้าวน้ำหอม ของดีที่มี GI

มะพร้าวน้ำหอมเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน เราเองก็กินมาตั้งแต่เด็ก โดยไม่ต้องซื้อหา เพราะมีอยู่กับบ้าน  ทุกครั้งที่กลับบ้าน เตี่ยจะตัดมะพร้าวน้ำหอมมาให้หนึ่งทะลาย แล้วเราก็จะพุ่งไปหยิบมีดอีโต้ทันทีที่มะพร้าวมาถึง ปาดมะพร้าวสองสามที เฉาะกะลาสีเหลืองอ่อนนวลๆ ยกกระดกตรงนั้น โดยไม่ต้องใช้หลอด ขอบอกว่าฟินสุดๆ ยิ่งตัดมาตอนเช้า น้ำมะพร้าวจะเย็นซ่านิดๆ หอมชื่นใจ หากตัดมาตอนบ่าย น้ำมะพร้าวจะอุ่นหน่อย ซ่ามากกว่าตอนเช้า แม้จะไม่ฟินเท่าตอนเช้า แต่ก็ฟินเช่นกัน

ใครกินเค็ม ยกมือขึ้น!!!

อยู่ดีดี ไข่เค็มที่เราคุ้นเคยจักมาตั้งแต่เด็กกลายมาเป็น #กระแสไข่เค็ม มาแบบงง ๆ จนหลายคนถามว่ามายังไง มันเกิดจากขนมขบเคี้ยวรสไข่เค็มยี่ห้อหนึ่งที่นำเข้ามาจากสิงคธปร์ แล้วเป็นที่ติดอกติดใจ จนมีผลิตภัณฑ์รสไข่เค็มออกมาเต็มตลาดภายในเวลาไม่กี่เดือน ด้วยเหตุที่ต้องใช้ไข่เค็มและใช้เฉพาะไข่แดงเสียด้วย ซึ่งจะให้อร่อยต้องใช้ไข่เค็มจากไข่เป็ด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปรุงรสอื่นๆ ทำให้ราคาขนมขอบเคี้ยวรสไข่เค็มจะมีราคาแพงกว่ารสอื่น หากใช้ไข่แดงของไข่เค็มจริงๆ ก็ยอมรับได้ เพราะไข่เค็มอร่อยต้องใช้ไข่เป็ด ซึ่งราคาจะแพงกว่าไข่ไก่ ปัจจุบันขายกันฟองละ 4-5 บาท

ของแถมจากเบคอน

งานวิจัยล่าสุดที่ CNN พาดหัวข่าวเมื่อเดือนก่อนว่า การกินเบคอนเป็นประจำแม้เพียงหนึ่งชิ้นต่อวันก็ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ colorectal (bowel) cancer แถมยังเชื่อมโยงไปยังมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอีกด้วย แม้ว่าสถาบันวิจัยมะเร็งจะมีงานวิจัยที่ทดลองในคนน้อย แต่งานวิจัยในสัตว์ทดลองเพียบ  ที่สำคัญระดับความรุนแรงนี่เทียบเท่ามะเร็งอันมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นเหตุให้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ต้องออกมาเตือน เมื่อปี

สเน่ห์ของความไม่สมบูรณ์แบบ

การยืดอก ‘ยอมรับความผิดพลาด’ คือ การแสดงความจริงใจ และสื่อถึงความน่าเชื่อถือ แสดงถึงความไม่สมบูรณ์แบบที่ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีความน่าดึงดูด เข้าถึงง่าย และเป็นธรรมชาติ ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการนี้ว่า The Pratfall Effect นี่ช่วยอธิบายได้อย่างดีว่าทำไมคนที่ทำอะไรโก๊ะ ๆ ดูมีสเน่ห์ ไม่มีพิษมีภัย น่าคบหา  ปัญหาหนึ่งของมนุษย์จำพวกสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก

หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ  เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้ ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง

ร้อนนี้ช่างร้อนนัก

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงมีวิธีดับกระหายคลายร้อนกัน ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มที่เครื่องดื่มดับกระหาย  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงหน้าร้อนแบบนี้เป็นช่วงที่ผู้ขายน้ำทั้งหลายรอคอย ยอดขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเย็น ๆ จะสูงสุดก็ช่วงนี้  และช่วงนี้เราก็เริ่มกลับมาติดหวานเสียด้วย คงต้องเพลา ๆ ลงหน่อย แต่ก็ไม่ได้งดนะ แค่กินให้พอดี ก็จะกินได้ทุกอย่าง ไม่ต้องงด  ข้อดีของน้ำตาลคือ ให้พลังงาน มันทำให้เราสดชื่น และมันช่วยเราคลายเครียดได้

เอ๊ะ!!!…ทำไมหวานจัง?

เวลาเหนื่อย ๆ ได้น้ำอัดลมสักกระป๋องเย็น ๆ ก็ช่วยให้เราสดชื่นได้ไม่น้อย  เห็นเราเป็นคนระมัดระวังเรื่องการกิน แต่เราก็ดื่มน้ำอัดลมนะ แต่ไม่ได้ดื่มกลุ่มน้ำดำ เพราะมีคาเฟอีน แค่แก้วเดียวเล่นนอนไม่หลับไปทั้งคืน เลยเข็ดขยาด เราจึงเลือกดื่มสไปรท์หรือชเวปส์ แต่ตอนดื่มจะเรื่องมากสักหน่อย ต้องหามะนาวมาบีบเพิ่มเพราะมันหวานไปสำหรับเรา  ทีนี้เราก็สังเกตได้ว่าสไปรท์นั้นหวานมาก เวลาบีบมะนาวเพิ่มต้องใช้ประมาณ 1 ลูกกว่า ๆ แต่ชเวปส์บีบแค่ครึ่งลูกก็เปรี้ยวพอ 

ฉลาก…รู้ว่าดี แต่ก็ไม่อ่าน

หลายคนคงขี้เกียจอ่านฉลาก แม้จะรู้ว่าฉลากช่วยบอกอะไรเราบ้าง แต่เราเลือกที่จะมองแต่ฉลากที่นักการตลาดต้องการให้เราอ่าน ซึ่งเราก็เป็น เรื่องฟุ้งๆ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฉลากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบ้านเรา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกัน ——————————————————————————————————————– เรามาเริ่มจากการตอบคำถามว่า ฉลากทำหน้าที่อะไร? ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างฉลากน้ำอัดลมละกัน ง่ายดี ชื่อสินค้า ตราหรือโลโก้ ถูกออกแบบให้เตะตา จำง่าย ตัวใหญ่ๆ อยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ สื่อโปรโมชั่นการตลาด

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

ปลาดอร์ลี่ ไม่ได้ดีเหมือนอย่างชื่อที่สวยหรู

และแล้วส่ิงที่กลัวก็เกิดขึ้น ผลงานวิจัยล่าสุดของ ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ชัดว่า ปลาดอร์ลี่ ของโปรดของคนไทยเจอสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐาน ที่สำคัญไม่ว่าจะต้ม ทอด หรือทำให้สุกอย่างไร ก็ไม่สามารถจัดการสารเหล่านี้ต่อไปได้ ปลาดอร์ลี่ รสชาตินุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว ปรุงอาหารได้หลากหลาย และเมื่อวางอยู่ในจาน เนื้อขาวสวย ตัดกับผักสีสันสดใส กระตุ้นต่อน้ำลายเราได้ไม่น้อย