สะเดามีอะไรดี ขมก็ขม ทำไมหลายคนถึงติดใจ

สะเดามีอะไรดี ขมก็ขม ทำไมหลายคนถึงติดใจ สำหรับบ้านเรา เมนูสะเดาน้ำปลาหวาน ปลาย่าง นับเป็นหนึ่งในของโปรดประจำครอบครัวเรา และโปรดมากจนต้องหาต้นสะเดามาปลูกไว้หลังบ้าน แม่เราปลูกสะเดามันหรือสะเดาทวายไว้สองต้น จำได้ว่าซื้อมาจากงานเกษตรแห่งชาติที่ ม.เกษตร กำแพงแสน สองต้นนี้มากพอที่จะได้ทั้งเก็บกิน เก็บแจก และเก็บขายเป็นกำๆ กำละ 10 บาท (หนักประมาณ 1.5

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 3

ตอนนี้ขอเล่าเรื่องไข่เป็ด ของเด็ดที่กำลังหายไป ทุกวันนี้หันไปทางไหนเราเจอแต่ไข่ไก่ จึงเกิดคำถามว่า แล้วไข่เป็ดไปไหนหมด ปกติบ้านเราจะชอบทานไข่เป็ด เพราะเลี้ยงกันเองในบรรดาญาติ โดยเฉพาะก๋งเรา ชอบเลี้ยงเป็ดมาก เลี้ยงมาตั้งแต่หนุ่มๆ แม้ช่วงท้ายของชีวิตก็ยังเลี้ยง แต่เลี้ยงไม่มาก ประมาณ 20-30 ตัว ก๋งบอกว่า นั่งมองเป็ดเพลินดี ก๋งเลี้ยงเป็ดแบบปล่อยให้หากินเองตามชายคลอง ให้อาหารหยาบเพิ่มในช่วงเย็น ไข่เป็ดของก๋งจึงอร่อย

สิ่งที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว กับดักสำคัญที่ฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลง

สวัสดีปีใหม่ค่ะเพื่อนๆ และคุณผู้อ่านทุกท่าน ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองกันมาแล้ว แต่ละคนเป็นอย่างไรกันบ้าง ได้มีโอกาสเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ หรือเปิดโอกาสตัวเองให้สิ่งดีๆ ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าชีวิตเดิมๆ เมื่อปีที่ผ่านมากันบ้างรึยัง  ก่อนสิ้นปี EatEcon ได้นำเสนอเรื่องราวของการพาชีวิตหลุดพ้นจากกับดัก “ต้นทุนจม” เพื่อเป็นแนวคิดในการเตรียมวางแผนรับปีใหม่ที่จะมาถึง…เช่นเดิมค่ะ เพื่อความต่อเนื่องและเปิดปฐมฤกษ์ของปีใหม่ทั้งที EatEcon ก็ไม่พลาดที่จะมานำเสนอบทความดีๆ เสิร์ฟให้ผู้อ่าน หลายคนคงเคยได้ยินหรือได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Status Quo Bias กันมาบ้าง หรือใครที่ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร บทความแรกของปี 2562 นี้ EatEcon จะขันอาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนิยามคำนี้

ต้นทุนจม… กับดักและเหตุผลวิบัติที่เราต้องเท่าทัน

เราจ่ายไปเยอะแล้ว… เราลงทุนไปเยอะแล้ว… เราเดินมาไกลมากแล้ว… เราทำมาตั้งนาน กว่าจะมาถึงวันนี้ แล้วเราก็มาจบที่ …รู้งี้… คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราเสมอ เมื่อเราให้ค่ากับ “ต้นทุนจม” มากเกินไป คุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ “ต้นทุนจม” อย่างแท้จริง ต้นทุนตัวนี้สำคัญมากนะ ไม่เฉพาะสำหรับนักลงทุน หรือนักธุรกิจ แต่มันมีอยู่จริงในชีวิตเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะทุกข์ร้อนกับมันมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการให้ค่าความสำคัญ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เจ็บหนัก

ฤาว่าเราควรอดอาหาร

วารสาร Science ฉบับที่ 362 มีบทความเรื่อง Time to Fast เขียนโดย Di Francesco และเพื่อน ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับ Fasting คำถามแรก Fasting คืออะไร Fast ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเร็ว แต่ Fast ในที่นี้แปลว่า อดอาหาร บทความเรื่องนี้กล่าวถึงการอดอาหาร 4 แนวทาง คือ

กระเทียม พืชหลังนาที่แสนหอม

เมื่อบอกแม่ว่าจะไปศรีสะเกษ “ซื้อกระเทียมกลับมาด้วยนะ” นี่คือสิ่งแรกที่แม่นึกถึง แม่บอกว่าแม่ชอบกระเทียมของศรีสะเกษเพราะหอมกว่า ทำกับข้าวไทยอร่อยกว่า ปกติเวลาแม่ซื้อกระเทียมก็จะเลือกที่แก่จัด แล้วนำมาแขวไว้ที่ขื่อบ้าน ให้อากาศถ่ายเท ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ค่อนข้างนาน แม่เชื่อว่าคนที่ทำกับข้าวเองเค้าก็ใช้กระเทียมไทยกันอยู่นะ แม้ว่ากระเทียมไทยจะกลีบเล็กและมีราคาแพงกว่า (ราคากระเทียมไทยที่ขายตามตลาดนัดแถวบ้านเรา จะแพงกว่ากระเทียมจีนประมาณ 20-30 บาท/ก.ก. ก็นับว่าแพงเอาการอยู่) แต่กระเทียมใช้น้อย สามสี่กลีบต่อเมนู แบ่งซื้อมา 10-20

เรื่องเล่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ สายพันธ์ุข้าวที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของข้าวสายพันธ์ุนี้ก่อนละกัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ทีมวิจัยของ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาของข้าวไทยและความต้องการของผู้บริโภคข้าวไทยในอนาคตที่เน้นกลุ่มข้าวที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ทีมวิจัยได้เลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นพ่อ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ ซึ่งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ข้าวเจ้าหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้สีเข้ม แต่ข้อเสียคือ

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็มีอะไรดีดีเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พาดหัวข่าวของประชาชาติ เรื่อง “สิงห์-ช้าง วืดเป้า เบียร์แสนล้านซึม กำลังซื้อทรุดนัก” เมื่ออ่านข่าวนี้ หัวใจเราพองโต ดีใจสุดๆ โฆษณาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กับสโลแกนที่ว่า “จน เครียด กินเหล่า” และการรณรงค์อื่นๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 2

หลังจากประเดิมลงบทความปฐมบท เรื่อง “ว่าด้วยเรื่องของไข่”ไปเมื่อ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตัวเราเองเปลี่ยนมาซื้อไข่เบอร์เล็กแทนไข่เบอร์ใหญ่ และอาจทำให้ใครหลายคนที่ได้อ่านแอบเปลี่ยนความคิดเช่นกัน แต่ก็มีความสงสัยตามมาในหัวว่า จะเบอร์เล็ก เบอร์ใหญ่ เบอร์ไหนก็ช่าง…แล้วเราควรกินวันละกี่ฟอง จึงเรียกว่าพอเหมาะพอดี บทความภาคต่อ ที่เราทำการบ้านมานี้มีคำตอบ  แต่แหม…จะเขียนทั้งที ก็ต้องได้อะไรมากกว่าแค่คำตอบว่ากินได้กี่ฟอง เราได้มีโอกาสคุยถึงเรื่องไข่กับหลายคน ทุกคนยอมรับว่า ไข่