กินเนื้อวัวไทยกันเถอะ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสายเนื้อในเมืองไทยได้ลิ้มลองเนื้อที่มีรสชาติไม่แพ้เนื้อที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทุกคนให้ความเห็นเหมือนกันว่าเนื้อวัวไทยพัฒนาไปมาก ไม่เหนียวเหมือนแต่ก่อน มีเนื้อไขมันแทรกสัญชาติไทยให้ได้ลิ้มลองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลอดระยะเวลาเกือบทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกร นักวิจัย และหน่วยงานภาครัฐ ได้จับมือกันร่วมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อเพื่อยกระดับคุณภาพเนื้อไทยให้สามารถแข่งขันกับเนื้อนำเข้า ซึ่งกำลังจะลดภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 ในปี 2563 ผลประโยชน์จึงตกอยู่ที่ผู้บริโภคที่สามารถบริโภคเนื้อนำเข้าในราคาที่ถูกลงในอนาคต สำหรับสายเนื้อแล้ว การได้ลิ้มรสเนื้อที่มีไขมันแทรก ถือเป็นสิ่งที่ถวิลหา หากแต่กระบวนการกว่าจะได้เนื้อที่มีคุณสมบัติแบบ A5 นั้นไม่ง่ายเลยแม้แต่ญี่ปุ่นที่เป็นต้นตำรับเนื้อประดับนี้ก็ตาม.

กว่าเกษตรไทยจะ 4.0

ความพยายามผลักดันไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐทำให้สังคมไทยตื่นตัว หน่วยงานรัฐทั้งหลายพยายามกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เข้าธง4.0 มีการพัฒนาแอพลิเคชันมากมายเพื่อมุ่งหวังให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) สามารถนำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ได้ในอนาคต หากแต่การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลของสังคมเกษตรนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เกษตรกรส่วนมากมีอายุมากกว่า 50 ปี การปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายมือถือจาก2G เป็น 3G น่าจะเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกษตรกรผู้สูงอายุเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์แบบเดิมมาเป็นสมาร์ทโฟน หากแต่จะมีสักกี่รายที่จะใช้ฟังก์ชันอื่นนอกเหนือจากการโทรและรับสาย จะมีสักกี่รายที่โหลดแอพลิเคชันของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ มาใช้ประโยชน์ เมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกงานนิสิตของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร

Personalised Nutrition: โภชนาการเฉพาะบุคคล

จากยอดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคในกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้เกิดการตื่นตัวกับการดูแลวิถีการกินของตัวเองมากขึ้น หน่วยงานสาธารณสุขพยายามออกแคมเปนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้คนทั่วไประมัดระวัง ลด ละ และเลิก ติดเค็มและหวาน อาทิเช่น แคมเปน “ลดเค็ม ลดโรค” เป็นหนึ่งในความพยายามของสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ต้องการลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่ม NCDs ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความล้มเหลวของตลาดกับสุขภาพ

การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถลดอัตราการเติบโตนี้ได้ในระยะเวลาอันใกล้ มีปัจจัยหลายๆอย่างที่สนับสนุนการอัตราการเพิ่มของประชากรกลุ่มนี้ วันนี้ผู้เขียนของแสดงความเห็นในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายการเติบโตของประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนด้วย ความล้มเหลวของตลาด(Market failure) คนหนึ่งคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าข่ายผู้มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เมื่อตลาดนั้นไม่สามารถตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ภายใต้เงื่อนไขตลาดแข่งขันสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ เงื่อนไขแรกคือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคในอุตสาหกรรมนั้นมีมาก จนทำไม่มีผู้ใดมีอำนาจในการกำหนดราคา นำมาซึ่งเงื่อนไขต่อมาคือ ทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อเป็นผู้รับราคาจากตลาดที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน (Price taker) ผู้ผลิตจะเข้าหรือออกจากตลาดเป็นไปอย่างเสรี

“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences

คนรอบข้างน้ันสำคัญ

ลดน้ำหนัก ไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายๆคน ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่มีสัดส่วนประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนสูงถึงร้อยละ30ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างเนื่องในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา(เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนคนไทยประมาณร้อยละ50 มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน) หากท่านผู้อ่านอยากทราบว่าตัวท่านเองนั้นอยู่ในระดับใด สามารถใช้การวัดดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้โดยคำนวณจากน้ำหนักในหน่วยกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง (กก./ม2) การเพิ่มขึ้นของประชากรไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุขทั้งหมายต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินกว่าปกติเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคที่เรียกว่าโรคกลุ่มNCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable

1 10 11 12