บันทึกการเดินทาง ตอน มะม่วงน้ำดอกไม้

3 ตุลาคม 2562  ทีมวิจัยผลไม้ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (ซึ่งเราได้มีโอกาสเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโครงการวิจัยนี้) ได้ไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ของคุณมนตรี ศรีนิล ผู้ยึดอาชีพชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ มานานกว่า 30 ปี  การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อไปหาคำตอบว่าตอนนี้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นอย่างไรกันบ้าง มีปัญหาอะไรที่ยังแก้กันไม่ตก และชาวสวนต้องการเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรที่อยากนำมาใช้ในการผลิต เราออกเดินทางกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร

อนาคตกาแฟไทยใน Experience Economy

กาแฟเมล็ดเล็ก ๆ สร้างมูลค่าได้ขนาดไหน? ศูนย์อัจริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารคาดการณ์มูลค่าตลาดของร้านกาแฟเมื่อตอนต้นปี 2562 ไว้ที่ 25,860 ล้านบาท บางรายประเมินไว้ที่ 38,000 ล้านบาท โตจากปี 2561 ราวๆ 15-20%  การเติบโตขนาดนี้ทำให้กาแฟที่ผลิตได้ภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้า แต่ปีนี้เมล็ดกาแฟไทยราคาประมาณ 70 บาท/กก

ระบบอาหารที่ซ่อนอยู่ในส้มตำจานเด็ด

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ ไกด์… ไม่ไร้สาระ สู่…อาหารโลก แปลมาจาก The No-Nonsense Guide to World Food เขียนโดย Wayne Roberts  หนังสือแปลเล่มนี้แปลมาจากฉบับปรับปรุงที่ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 ผู้เขียนเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2008 – 2013

จะดีแค่ไหน… ถ้าเครื่องดื่มหวานน้อยถูกกว่าสูตรหวานปกติ?

เมื่อเดินไปโซนเครื่องดื่มที่มีน้ำหวานวางเรียงรายแน่นขนัดในในร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อน ๆ สังเกตเห็นอะไร? : สิ่งที่เราเห็นคือ ราคาน้ำอดลมจะถูกตั้งราคาเสมือนอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ มีราคาเดียว หรือไม่ก็ต่างกันเพียง 1 บาท  เรียกได้ว่าตั้งราคาแบบที่คนซื้อเลือกด้วยความชอบโดยไม่ต้องในใจเรื่องราคา แต่…อย่าลืมเหลียวมองดูปริมาณกันสักนิดว่าแต่ละเจ้าชิงไหวชิงพริบกันอย่างไร เมื่อกวาดตามองราคาทุกรายการที่วางเรียงราย ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า…  ถ้าน้ำอัดลมสูตรไม่ใส่น้ำตาลราคาถูกกว่าสูตรปกติ คนจะหันมาดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้นหรือไม่? แล้ว..ถ้าเป็นเครื่องดื่มแบบอื่นหากลดราคาให้สำหรับคนที่สั่งหวานน้อย จะสามารถจูงใจลูกค้าได้มากแค่ไหน

เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –

มื้อนี้เราเลี้ยงเอง ^ ^

ต่อเนื่องจากบทความก่อนที่เราชวนเพื่อนออกไปจับจ่ายใช้สอย เพื่อร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจ คราวนี้เราอยากเสนอให้ ชวนกันออกไปกินข้าว พบปะสังสรรค์ อัพเดทชีวิตของเพื่อนสนิทมิตรสหาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกัน ปัญหาโลกแตกแรกเวลานัดเพื่อนๆ คือ กินอะไรดี และเมื่อกลุ่มสรุปได้แล้วว่าจะไปกินอะไร ร้านไหน  เมื่อไปถึงร้านก็จะเจอปัญหาโลกแตกอีกข้อคือ ควรจะสั่งอะไรดี ราคาจะแพงไปหรือเปล่า แล้วเราควรทำอย่างไรดี? เวลาเรานัดเพื่อน ๆ ในกลุ่มไปกินข้าว โดยปกติก็จะหารกัน

ถึงเวลา…กิน & เที่ยว ช่วยชาติ

เมื่อถามถึงเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ไม่ดี’ ข้อมูลล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา เรื่องอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีที่ตกลงมาจนน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 2 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ทำให้เส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยพลิกกลับเรียกว่า Inverted Yield Curve [1] เหตุการณ์นี้เหมือนเดจาวู เพราะงานวิจัยจากเฟดนิวยอร์ค ปี

ฝึกก้าวออกจาก comfort zone ด้วยการกิน

ไม่กล้าออกจาก comfort zone ทำอย่างไรดี เราเจอคำถามนี้จากนิสิต เมื่อเราพูดถึงเรื่อง comfort zone สิ่งคุ้นเคยและสภาพแวดล้อมที่เคยชิน ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ  ความคิดแบบนี้เป็นอคติแบบหนึ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกอคตินี้ว่า ‘Status quo bias’ หรือ ‘สิ่งที่เราเป็นอยู่ ดีที่สุดเสมอ’ หรือ

พัก คือ พัก: Work Life Balance

สำหรับคนที่ทำงานตลอดเวลาบางครั้งเรากลับรู้สึกผิดที่เราไปเที่ยวทั่งที่งานยังไม่เสร็จ ในหัวคิดเรื่องานตลอดเวลา อยากจะหยุดคิดแต่สมองไม่ยอมหยุด จนรู้ตัวว่าภาวะเครียดเริ่มก่อตัว คงต้องหยุดพัก แบบ พัก คือ พัก เป็นจังหวะพอดีที่ได้วันหยุดมา 3 วัน ช่วงเวลาของวันหยุด 3 วันที่ผ่านมาทำให้เราได้ หยุด พัก และวางงานไว้ได้ ต้องขอบคุณหนังสือ Work

ฤา…เราเลือกที่จะไม่ฟัง

เรามักจะอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยาก และหลีกเลี่ยงการได้ยินในสิ่งที่เราไม่อยากจะได้ยิน การเลือกทั้งสองยินทั้งสองแบบเป็นอคติทางด้านความคิด (Cognitive bias) ที่เราเคยชิน  การเลือกได้ยิน รับรู้ และเชื่อในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจ เรียกว่า Confirmation bias ขณะที่การเลือกที่จะไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ และไม่เชื่อ ในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่สนใจ เรียกว่า Information avoidance การเลือกแบบแรกทำให้เรามั่นใจ