วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก

หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ  เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้ ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง

ร้อนนี้ช่างร้อนนัก

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงมีวิธีดับกระหายคลายร้อนกัน ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มที่เครื่องดื่มดับกระหาย  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงหน้าร้อนแบบนี้เป็นช่วงที่ผู้ขายน้ำทั้งหลายรอคอย ยอดขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเย็น ๆ จะสูงสุดก็ช่วงนี้  และช่วงนี้เราก็เริ่มกลับมาติดหวานเสียด้วย คงต้องเพลา ๆ ลงหน่อย แต่ก็ไม่ได้งดนะ แค่กินให้พอดี ก็จะกินได้ทุกอย่าง ไม่ต้องงด  ข้อดีของน้ำตาลคือ ให้พลังงาน มันทำให้เราสดชื่น และมันช่วยเราคลายเครียดได้

เอ๊ะ!!!…ทำไมหวานจัง?

เวลาเหนื่อย ๆ ได้น้ำอัดลมสักกระป๋องเย็น ๆ ก็ช่วยให้เราสดชื่นได้ไม่น้อย  เห็นเราเป็นคนระมัดระวังเรื่องการกิน แต่เราก็ดื่มน้ำอัดลมนะ แต่ไม่ได้ดื่มกลุ่มน้ำดำ เพราะมีคาเฟอีน แค่แก้วเดียวเล่นนอนไม่หลับไปทั้งคืน เลยเข็ดขยาด เราจึงเลือกดื่มสไปรท์หรือชเวปส์ แต่ตอนดื่มจะเรื่องมากสักหน่อย ต้องหามะนาวมาบีบเพิ่มเพราะมันหวานไปสำหรับเรา  ทีนี้เราก็สังเกตได้ว่าสไปรท์นั้นหวานมาก เวลาบีบมะนาวเพิ่มต้องใช้ประมาณ 1 ลูกกว่า ๆ แต่ชเวปส์บีบแค่ครึ่งลูกก็เปรี้ยวพอ 

ฉลาก…รู้ว่าดี แต่ก็ไม่อ่าน

หลายคนคงขี้เกียจอ่านฉลาก แม้จะรู้ว่าฉลากช่วยบอกอะไรเราบ้าง แต่เราเลือกที่จะมองแต่ฉลากที่นักการตลาดต้องการให้เราอ่าน ซึ่งเราก็เป็น เรื่องฟุ้งๆ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฉลากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบ้านเรา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกัน ——————————————————————————————————————– เรามาเริ่มจากการตอบคำถามว่า ฉลากทำหน้าที่อะไร? ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างฉลากน้ำอัดลมละกัน ง่ายดี ชื่อสินค้า ตราหรือโลโก้ ถูกออกแบบให้เตะตา จำง่าย ตัวใหญ่ๆ อยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ สื่อโปรโมชั่นการตลาด

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ มีอะไรดี ทำไมเราถึงติดใจ

บางคนหลงรักถึงขนาดไปกินหมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู หรือสุกี้ ทุกสัปดาห์ บางคนไปกินมากกว่าสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง แม้ว่าจะรู้ว่าการกินอาหารจำพวกปิ้งย่างมากไม่ดี แต่ก็หักห้ามใจไม่ได้ บางครั้งเรายอมจ่ายให้กับอาหารที่ไม่ได้อร่อยเลิศเลอ คุณภาพไม่ได้ดีมาก แต่เราให้ค่าความอร่อยมากกว่าความเป็นจริง เพราะอาหารที่เราปรุงเองมีค่าและอร่อยมากกว่าสิ่งที่คนอื่นปรุง หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ เมนูโปรดที่ต้องกินกันหลายคน หากถามว่า หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู

ได้เวลาบอกลาน้ำหวานไดเอ็ท

ข่าวร้ายสำหรับสาวๆ ที่ดื่มเครื่องดื่มประเภทไดเอ็ททุกวัน คุณได้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคหัวใจขาดเลือด (Heart Attacks) ด้วยเหตุนี้ ทางนักวิจัยจึงดูไปถึงวิถีการใช้ชีวิตว่าสาวๆ เหล่านี้กินหรือดื่มอะไรกันบ้าง จนพบปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโรคทั้งสองนี้แหละ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN ออกบทความอ้างถึงงานวิจัยของ the American Heart

เราถวายสิ่งที่ดีที่สุด จริงหรือ?

อาหารคาวหวานที่ผ่านการปรุงรสอย่างสุดฝีมือเพื่อถวายพระสงฆ์ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยโซเดียมและน้ำตาล นำมาซึ่ง 5 โรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มพระสงฆ์ – โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวาย และโรคข้อเข่าเสื่อม เราในฐานะผู้ถวายควรเลือกอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพพระสงฆ์มากกว่ารสชาติอร่อยแต่เพียงอย่างเดียว ที่มาของบทความนี้เกินวันที่เรานำของไปใส่บาตร เราสังเกตเห็นอาหารทั้งคาวหวานที่ถูกตระเตรียมไว้เป็นอย่างดีเพื่อรอประเคนแด่พระสงฆ์ เต็มไปด้วยของน่ากินทั้งนั้น กลืนน้ำลายแทบไม่ทัน เราว่าหลายคนก็อาจจะเป็นหมือนเรา  ย้อนกลับไปในวัยเด็กภาพที่เราเห็นจนชินตาตั้งแต่เด็กคือ ทุกวันพระ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งจะหิ้วปิ่นโตมาที่วัด

3+1 สาเหตุที่เสพย์ติดชานมไข่มุก

ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะเดินไปทางไหนก็จะเจอกับชานมไข่มุก (Bubble tea) เครื่องดื่มที่มีต้นกำเนิดจากไต้หวันเมื่อช่วงปี 1980s นับไปก็เกือบ 40 ปีแล้ว จะว่าไปชานมไข่มุกไม่ได้พึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ชานมไข่มุกเคยเป็นกระแสอยู่สักพักในอดีต แล้วก็ตกกระแสไป แต่การมาครั้งนี้ กลับมาอย่างมีกลยุทธ์ มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลไต้หวัน ไม่เพียงที่ไทย ตอนนี้ชานมไข่มุกเป็นที่นิยมมากกว่า 30 ประเทศ ไม่ไว้แม้แต่ประเทศอังกฤษ เพราะมี

อาหารพื้นถิ่นแห่งเซิงหวาย

ไก่ดำลือเลื่อง ครบเครื่องทั้งคาวหวาน อิ่มสำราญบ้านเซิงหวาย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพานิสิตสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ชั้นปีที่ 4 ไปดูงานโครงการ OTOP นวัตวิถี ที่มีแนวคิดจากการผนวกโครงการ OTOP มารวมกับการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ชุมชนเป้าหมายของเราในครั้งนี้คือ ชุมชนบ้านเซิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ความหมายมั่นของเราทุกครั้งที่ได้ลงพื้นที่คือ การได้ลิ้มรสอาหารพื้นบ้านที่เรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยสเน่ห์