ใครกินเค็ม ยกมือขึ้น!!!

อยู่ดีดี ไข่เค็มที่เราคุ้นเคยจักมาตั้งแต่เด็กกลายมาเป็น #กระแสไข่เค็ม มาแบบงง ๆ จนหลายคนถามว่ามายังไง มันเกิดจากขนมขบเคี้ยวรสไข่เค็มยี่ห้อหนึ่งที่นำเข้ามาจากสิงคธปร์ แล้วเป็นที่ติดอกติดใจ จนมีผลิตภัณฑ์รสไข่เค็มออกมาเต็มตลาดภายในเวลาไม่กี่เดือน ด้วยเหตุที่ต้องใช้ไข่เค็มและใช้เฉพาะไข่แดงเสียด้วย ซึ่งจะให้อร่อยต้องใช้ไข่เค็มจากไข่เป็ด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปรุงรสอื่นๆ ทำให้ราคาขนมขอบเคี้ยวรสไข่เค็มจะมีราคาแพงกว่ารสอื่น หากใช้ไข่แดงของไข่เค็มจริงๆ ก็ยอมรับได้ เพราะไข่เค็มอร่อยต้องใช้ไข่เป็ด ซึ่งราคาจะแพงกว่าไข่ไก่ ปัจจุบันขายกันฟองละ 4-5 บาท

ของแถมจากเบคอน

งานวิจัยล่าสุดที่ CNN พาดหัวข่าวเมื่อเดือนก่อนว่า การกินเบคอนเป็นประจำแม้เพียงหนึ่งชิ้นต่อวันก็ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ colorectal (bowel) cancer แถมยังเชื่อมโยงไปยังมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอีกด้วย แม้ว่าสถาบันวิจัยมะเร็งจะมีงานวิจัยที่ทดลองในคนน้อย แต่งานวิจัยในสัตว์ทดลองเพียบ  ที่สำคัญระดับความรุนแรงนี่เทียบเท่ามะเร็งอันมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นเหตุให้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ต้องออกมาเตือน เมื่อปี

สเน่ห์ของความไม่สมบูรณ์แบบ

การยืดอก ‘ยอมรับความผิดพลาด’ คือ การแสดงความจริงใจ และสื่อถึงความน่าเชื่อถือ แสดงถึงความไม่สมบูรณ์แบบที่ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีความน่าดึงดูด เข้าถึงง่าย และเป็นธรรมชาติ ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการนี้ว่า The Pratfall Effect นี่ช่วยอธิบายได้อย่างดีว่าทำไมคนที่ทำอะไรโก๊ะ ๆ ดูมีสเน่ห์ ไม่มีพิษมีภัย น่าคบหา  ปัญหาหนึ่งของมนุษย์จำพวกสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก

หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ  เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้ ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง

ร้อนนี้ช่างร้อนนัก

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงมีวิธีดับกระหายคลายร้อนกัน ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มที่เครื่องดื่มดับกระหาย  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงหน้าร้อนแบบนี้เป็นช่วงที่ผู้ขายน้ำทั้งหลายรอคอย ยอดขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเย็น ๆ จะสูงสุดก็ช่วงนี้  และช่วงนี้เราก็เริ่มกลับมาติดหวานเสียด้วย คงต้องเพลา ๆ ลงหน่อย แต่ก็ไม่ได้งดนะ แค่กินให้พอดี ก็จะกินได้ทุกอย่าง ไม่ต้องงด  ข้อดีของน้ำตาลคือ ให้พลังงาน มันทำให้เราสดชื่น และมันช่วยเราคลายเครียดได้

เอ๊ะ!!!…ทำไมหวานจัง?

เวลาเหนื่อย ๆ ได้น้ำอัดลมสักกระป๋องเย็น ๆ ก็ช่วยให้เราสดชื่นได้ไม่น้อย  เห็นเราเป็นคนระมัดระวังเรื่องการกิน แต่เราก็ดื่มน้ำอัดลมนะ แต่ไม่ได้ดื่มกลุ่มน้ำดำ เพราะมีคาเฟอีน แค่แก้วเดียวเล่นนอนไม่หลับไปทั้งคืน เลยเข็ดขยาด เราจึงเลือกดื่มสไปรท์หรือชเวปส์ แต่ตอนดื่มจะเรื่องมากสักหน่อย ต้องหามะนาวมาบีบเพิ่มเพราะมันหวานไปสำหรับเรา  ทีนี้เราก็สังเกตได้ว่าสไปรท์นั้นหวานมาก เวลาบีบมะนาวเพิ่มต้องใช้ประมาณ 1 ลูกกว่า ๆ แต่ชเวปส์บีบแค่ครึ่งลูกก็เปรี้ยวพอ 

ฉลาก…รู้ว่าดี แต่ก็ไม่อ่าน

หลายคนคงขี้เกียจอ่านฉลาก แม้จะรู้ว่าฉลากช่วยบอกอะไรเราบ้าง แต่เราเลือกที่จะมองแต่ฉลากที่นักการตลาดต้องการให้เราอ่าน ซึ่งเราก็เป็น เรื่องฟุ้งๆ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฉลากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบ้านเรา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกัน ——————————————————————————————————————– เรามาเริ่มจากการตอบคำถามว่า ฉลากทำหน้าที่อะไร? ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างฉลากน้ำอัดลมละกัน ง่ายดี ชื่อสินค้า ตราหรือโลโก้ ถูกออกแบบให้เตะตา จำง่าย ตัวใหญ่ๆ อยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ สื่อโปรโมชั่นการตลาด

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

ปลาดอร์ลี่ ไม่ได้ดีเหมือนอย่างชื่อที่สวยหรู

และแล้วส่ิงที่กลัวก็เกิดขึ้น ผลงานวิจัยล่าสุดของ ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ชัดว่า ปลาดอร์ลี่ ของโปรดของคนไทยเจอสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐาน ที่สำคัญไม่ว่าจะต้ม ทอด หรือทำให้สุกอย่างไร ก็ไม่สามารถจัดการสารเหล่านี้ต่อไปได้ ปลาดอร์ลี่ รสชาตินุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว ปรุงอาหารได้หลากหลาย และเมื่อวางอยู่ในจาน เนื้อขาวสวย ตัดกับผักสีสันสดใส กระตุ้นต่อน้ำลายเราได้ไม่น้อย

น้ำตาลทรายแดง ดีกว่า น้ำตาลทรายขาว จริงหรือ?

น้ำตาลทรายแดงไม่ฟอกสีต้องดีกว่าสิ แต่หารู้ไม่ว่า เราเข้าใจผิด !!! ของแพงต้องดีกว่าของถูก อาจจะใช้ไม่ได้ สองประเด็นด้านบน เพื่อนๆ จะได้คำตอบจากบทความนี้แน่นอน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักน้ำตาลกันก่อน เราขอจัดน้ำตาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. น้ำตาลดิบ หรือ Raw sugar  คือน้ำตาลทรายที่ได้จากกระบวนการผลิตขั้นต้น

1 7 8 9 10 11 13