จะดีแค่ไหน… ถ้าเครื่องดื่มหวานน้อยถูกกว่าสูตรหวานปกติ?

เมื่อเดินไปโซนเครื่องดื่มที่มีน้ำหวานวางเรียงรายแน่นขนัดในในร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อน ๆ สังเกตเห็นอะไร? : สิ่งที่เราเห็นคือ ราคาน้ำอดลมจะถูกตั้งราคาเสมือนอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ มีราคาเดียว หรือไม่ก็ต่างกันเพียง 1 บาท  เรียกได้ว่าตั้งราคาแบบที่คนซื้อเลือกด้วยความชอบโดยไม่ต้องในใจเรื่องราคา แต่…อย่าลืมเหลียวมองดูปริมาณกันสักนิดว่าแต่ละเจ้าชิงไหวชิงพริบกันอย่างไร เมื่อกวาดตามองราคาทุกรายการที่วางเรียงราย ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า…  ถ้าน้ำอัดลมสูตรไม่ใส่น้ำตาลราคาถูกกว่าสูตรปกติ คนจะหันมาดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้นหรือไม่? แล้ว..ถ้าเป็นเครื่องดื่มแบบอื่นหากลดราคาให้สำหรับคนที่สั่งหวานน้อย จะสามารถจูงใจลูกค้าได้มากแค่ไหน

เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –

มื้อนี้เราเลี้ยงเอง ^ ^

ต่อเนื่องจากบทความก่อนที่เราชวนเพื่อนออกไปจับจ่ายใช้สอย เพื่อร่วมกันกระตุ้นเศรษฐกิจ คราวนี้เราอยากเสนอให้ ชวนกันออกไปกินข้าว พบปะสังสรรค์ อัพเดทชีวิตของเพื่อนสนิทมิตรสหาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกัน ปัญหาโลกแตกแรกเวลานัดเพื่อนๆ คือ กินอะไรดี และเมื่อกลุ่มสรุปได้แล้วว่าจะไปกินอะไร ร้านไหน  เมื่อไปถึงร้านก็จะเจอปัญหาโลกแตกอีกข้อคือ ควรจะสั่งอะไรดี ราคาจะแพงไปหรือเปล่า แล้วเราควรทำอย่างไรดี? เวลาเรานัดเพื่อน ๆ ในกลุ่มไปกินข้าว โดยปกติก็จะหารกัน

ถึงเวลา…กิน & เที่ยว ช่วยชาติ

เมื่อถามถึงเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ไม่ดี’ ข้อมูลล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา เรื่องอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีที่ตกลงมาจนน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 2 ปี เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ทำให้เส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยพลิกกลับเรียกว่า Inverted Yield Curve [1] เหตุการณ์นี้เหมือนเดจาวู เพราะงานวิจัยจากเฟดนิวยอร์ค ปี

ฝึกก้าวออกจาก comfort zone ด้วยการกิน

ไม่กล้าออกจาก comfort zone ทำอย่างไรดี เราเจอคำถามนี้จากนิสิต เมื่อเราพูดถึงเรื่อง comfort zone สิ่งคุ้นเคยและสภาพแวดล้อมที่เคยชิน ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ  ความคิดแบบนี้เป็นอคติแบบหนึ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกอคตินี้ว่า ‘Status quo bias’ หรือ ‘สิ่งที่เราเป็นอยู่ ดีที่สุดเสมอ’ หรือ

พัก คือ พัก: Work Life Balance

สำหรับคนที่ทำงานตลอดเวลาบางครั้งเรากลับรู้สึกผิดที่เราไปเที่ยวทั่งที่งานยังไม่เสร็จ ในหัวคิดเรื่องานตลอดเวลา อยากจะหยุดคิดแต่สมองไม่ยอมหยุด จนรู้ตัวว่าภาวะเครียดเริ่มก่อตัว คงต้องหยุดพัก แบบ พัก คือ พัก เป็นจังหวะพอดีที่ได้วันหยุดมา 3 วัน ช่วงเวลาของวันหยุด 3 วันที่ผ่านมาทำให้เราได้ หยุด พัก และวางงานไว้ได้ ต้องขอบคุณหนังสือ Work

ฤา…เราเลือกที่จะไม่ฟัง

เรามักจะอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยาก และหลีกเลี่ยงการได้ยินในสิ่งที่เราไม่อยากจะได้ยิน การเลือกทั้งสองยินทั้งสองแบบเป็นอคติทางด้านความคิด (Cognitive bias) ที่เราเคยชิน  การเลือกได้ยิน รับรู้ และเชื่อในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจ เรียกว่า Confirmation bias ขณะที่การเลือกที่จะไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ และไม่เชื่อ ในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่สนใจ เรียกว่า Information avoidance การเลือกแบบแรกทำให้เรามั่นใจ

มะพร้าวทึนทึก หัวใจความอร่อย

หลังจากวันหยุดยาวที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปทำบุญเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จึงได้เห็นอาหารทั้งคาวหวานโดยเฉพาะขนมไทยมากมายหลายชนิดที่สาธุชนได้พร้อมใจกันนำไปใส่บาตร เช่น ขนมเปียกปูน ขนมตาล ขนมต้ม ขนมถั่วแปป และ ขนมสอดไส้ ฯลฯ เกือบทุกชนิดจะมีมะพร้าวซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญของขนมไทยเลยก็ว่าได้  ขนมไทยเราใช้มะพร้าวในหลายรูปแบบไม่ว่า กะทิ น้ำมะพร้าว หรือเนื้อมะพร้าว ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองไม่เห็นก็มักจะใช้น้ำมะพร้าวหรือกะทิ และที่มองเห็นก็มักจะเป็นมะพร้าวที่ใช้โรยหน้าหรือทำไส้ขนมซึ่งนิยมใช้ ‘มะพร้าวทึนทึก’

กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน ตอนที่ 3

ผ่านไปสองตอนก่อนหน้ากับซีรี่ย์กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้อ่านบทความของ CNN Travel ยกให้ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) เป็นอันดับ 8 ของวัฒนธรรมอาหารที่ดีที่สุด [1] ถามว่าทำไม? CNN travel ให้เหตุผลว่า อาหารไทยในหนึ่งจานน่าดึงดูด เพราะมีสมุนไทยและเครื่องเทศหลากหลาย มีรสชาติที่ซับซ้อน เปรียบเหมือนกำลังฟังเพลงออเคสตรา ในหนึ่งจานมีรสเผ็ด

กินข้าวอย่างไร ไม่ให้อ้วน ตอนที่ 2

จากบทความตอนที่ 1 เล่าถึงวิธีการกินข้าวและเลือกข้าวที่ช่วยเรากินข้าวแล้วไม่อ้วน ตอนนี้เราจะขอเล่าเทคนิคอย่างง่าย ๆ แถมมีงานวิจัยรองรับ มาเล่าสู่กันฟัง วิธีแรก ลดขนาดจานและชาม ศาสตาจารย์ Brian Wansink แห่ง Cornell University ได้ออกแบบการทดลองด้านพฤติกรรมการรับประทานขึ้นมา 4 การทดลอง เพื่อที่จะยืนยันว่า ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่กระตุ้นให้เรา

1 5 6 7 8 9 12