5,000 จะใช้อย่างไรดี

คาดว่ามาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 รายละ 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่หลายคนเฝ้ารอจะทยอยได้กันเร็ว ๆ นี้  คำถามคือ เราควรจะใช้เงินจำนวนนี้อย่างไร แล้วมันทำให้เรารู้สึกอย่างไร แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้อยากได้ แต่เงินได้เปล่าก้อนนี้ ก็ทำให้ยอดการลงทะเบียนมากกว่า 23 ล้านคน ประมาณว่าลงทะเบียนไว้ก่อน แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้เข้าเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม

อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ระวัง “หนี้”

EatEcon กลับมาอีกครั้ง หลังห่างหายกันไปนาน กลับมาคราวนี้ต้องขอบคุณ Covid-19 ที่ทำให้เราได้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” จากที่ต้องออกไปทำงานทุกวัน บางสัปดาห์ 7 วัน ไม่มีวันหยุด พอ Covid-19 เริ่มระบาดรุนแรงและเป็นวงกว้าง เราต้องเปลี่ยนบ้านให้เป็นที่ทำงานเหมือนเช่นหลายคน ขณะที่หลายคนต้องหยุดงาน ได้เงินเดือนบ้าง

“ชาวสวนขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”

ในช่วงฤดูกาลของผลไม้ออกสู่ตลาดนำนวนมากจนเกิดภาวะล้นตลาด เรามักจะเห็นรถกระบะบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรมาขายริมทาง ซึ่งราคามักจะถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายในตลาดทั่วไป โดยผู้ขายมักจะบอกว่า “ชาวสวนมาขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”  พวกเราก็มักจะอุดหนุนติดไม้ติดมือกลับมา อันที่จริงแค่บอกว่าชาวสวนมาขายเอง ความยินดีที่จะซื้อของพวกเราก็เพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเรามีภาพในใจว่า… เกษตรกรนั้นเป็นอาชีพที่ลำบาก รายได้น้อย และเมื่อมีโอกาสอุดหนุนโดยตรง มีหรือที่เราจะไม่ช่วยสนับสนุน ได้ผลผลิตสด ๆ จากสวน ถือเป็นข้อดีเด้งแรก และจ่ายในราคาที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ถือเป็นข้อดีเด้งที่

อยากกินแพง แต่เสียดายเงิน จะทำยังไงดี

เมื่อเอ่ยถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ ทุกคนลงความเห็นเหมือนกันว่า ‘แย่’ ประชาชนคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่ารัฐจะกระตุ้นด้วยมาตรการ “ชิม ช็อป ใช้” แจกเงินให้ใช้กันฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท แถมมีกระเป๋าสองถ้าอยากจ่ายเงินแล้วได้เงินคืน  ในมุมของเรา นโยบายไม่น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดังหวัง เพราะข้อจำกัดเยอะสุด ๆ กว่าจะแย่งกันลงทะเบียนได้ ก็อดตาหลับขับตานอน

บันทึกการเดินทาง ตอน มะม่วงน้ำดอกไม้

3 ตุลาคม 2562  ทีมวิจัยผลไม้ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (ซึ่งเราได้มีโอกาสเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโครงการวิจัยนี้) ได้ไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ของคุณมนตรี ศรีนิล ผู้ยึดอาชีพชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ มานานกว่า 30 ปี  การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อไปหาคำตอบว่าตอนนี้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นอย่างไรกันบ้าง มีปัญหาอะไรที่ยังแก้กันไม่ตก และชาวสวนต้องการเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรที่อยากนำมาใช้ในการผลิต เราออกเดินทางกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร

ขออย่าให้หมูกลายเป็นแพะ

ตอนนี้แวดวงของผู้เลี้ยงสุกรต่างร้อน ๆ หนาว ๆ ถ้วนหน้ากับการรุกรานของการระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกา หรือ AFS ที่ทะลุการ์ดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่เตรียมการรับมือป้องกันมาร่วมปีเข้ามาในเมืองไทยเรียบร้อย ณ จังหวัดเชียงราย แต่ยังไม่มีการรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฟาร์มขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นและการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ต้องยอมรับว่าวงการหมูไทยได้ต่อสู้กับการระบาด AFS ได้ยอดเยี่ยม ควบคุมพื้นที่ระบาดของโรคได้ดีเมื่อเทียบกับจีน เวียดนาม ลาว และพม่า โดยเฉพาะจีนที่มีความเสียหายอย่างหนัก AFS

อนาคตกาแฟไทยใน Experience Economy

กาแฟเมล็ดเล็ก ๆ สร้างมูลค่าได้ขนาดไหน? ศูนย์อัจริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารคาดการณ์มูลค่าตลาดของร้านกาแฟเมื่อตอนต้นปี 2562 ไว้ที่ 25,860 ล้านบาท บางรายประเมินไว้ที่ 38,000 ล้านบาท โตจากปี 2561 ราวๆ 15-20%  การเติบโตขนาดนี้ทำให้กาแฟที่ผลิตได้ภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้า แต่ปีนี้เมล็ดกาแฟไทยราคาประมาณ 70 บาท/กก

ระบบอาหารที่ซ่อนอยู่ในส้มตำจานเด็ด

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ ไกด์… ไม่ไร้สาระ สู่…อาหารโลก แปลมาจาก The No-Nonsense Guide to World Food เขียนโดย Wayne Roberts  หนังสือแปลเล่มนี้แปลมาจากฉบับปรับปรุงที่ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 ผู้เขียนเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2008 – 2013

จะดีแค่ไหน… ถ้าเครื่องดื่มหวานน้อยถูกกว่าสูตรหวานปกติ?

เมื่อเดินไปโซนเครื่องดื่มที่มีน้ำหวานวางเรียงรายแน่นขนัดในในร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อน ๆ สังเกตเห็นอะไร? : สิ่งที่เราเห็นคือ ราคาน้ำอดลมจะถูกตั้งราคาเสมือนอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ มีราคาเดียว หรือไม่ก็ต่างกันเพียง 1 บาท  เรียกได้ว่าตั้งราคาแบบที่คนซื้อเลือกด้วยความชอบโดยไม่ต้องในใจเรื่องราคา แต่…อย่าลืมเหลียวมองดูปริมาณกันสักนิดว่าแต่ละเจ้าชิงไหวชิงพริบกันอย่างไร เมื่อกวาดตามองราคาทุกรายการที่วางเรียงราย ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า…  ถ้าน้ำอัดลมสูตรไม่ใส่น้ำตาลราคาถูกกว่าสูตรปกติ คนจะหันมาดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้นหรือไม่? แล้ว..ถ้าเป็นเครื่องดื่มแบบอื่นหากลดราคาให้สำหรับคนที่สั่งหวานน้อย จะสามารถจูงใจลูกค้าได้มากแค่ไหน

เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –

1 4 5 6 7 8 12